คลังเก็บหมวดหมู่: ผลงานนักศึกษา

ธีรภัทร แสงศรี (งานที่ 2)

การที่รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งซื้อวัคซีน ชิโนแวค ที่มีรายงานไม่สามารถป้องกันไวรัสสายพันธ์เดลต้าได้ ในมุมมองของ เอ็มมานูเอล คานส์ มองอย่างไร

          ในมุมมองของคานท์ การจัดซื้อวัคซีน ซิโนแวค ของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อ       จริยศาสตร์ในความคิดของคานท์ โดยดูได้จากข้อกำหนดข้อแรกของคานท์ที่ว่าด้วยเรื่องเจตจำนงที่ดี ในที่นี้คือ การจัดซื้อวัคซีนของรัฐบาลต้องเป็นสิ่งที่ดีโดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกังขา แต่ในสถานการณ์ตอนนี้เห็นได้ชัดว่าการจัดซื้อวัคซีนของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีนัยยะแอบแฝง ด้วยราคาวัคซีนซิโนแวคที่มีราคาสูง รวมถึงคุณภาพที่ต่ำเมื่อเทียบกับวัคซีนยี่ห้ออื่นในตลาดโลกตอนนี้ เช่น ไฟเซอร์ หรือโมเดอน่า เป็นต้น จึงขัดกับหลักเจตจำนงที่ดี ซึ่งต้องเป็นการกระทำที่ไม่มีเงื่อนไข แต่การกระทำของรัฐบาลในการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคในครั้งนี้ เป็นเจตจำนงที่ดูมีเงื่อนไข และเกิดเป็นข้อกังขาในสังคม ทั้งในเรื่องราคาวัคซีน และคุณภาพของวัคซีน หรือขัดกับการกระทำที่ถูกต้อง เพราะการกระทำของรัฐบาลนั้นไม่บริสุทธิ์ใจต่อประชาชน การที่มีงานวิจัยรวมถึงการยืนยันจาก WHO ออกมาแล้วว่าวัคซีนยี่ห้อไหนมีคุณสมบัติในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า แต่รัฐบาลก็ยังยืนยันที่จะซื้อซิโนแวคทั้งที่มีงานวิจัยแล้วว่าไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์นี้ได้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลและไม่บริสุทธิ์ใจต่อประชาชน ทั้งที่ประชาชนควรที่จะได้รับการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพตั้งแต่แรก รวมไปถึงการบริหารงานต่างๆในเรื่องวัคซีนของรัฐบาลที่ไม่มีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรก ตั้งแต่การเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ (Covax) โดยให้เหตุผลว่าระเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในฐานะปานกลาง การเข้าร่วมจะไม่สามารถเลือกวัคซีน และราคาที่ซื้อจะสูงกว่าประเทศในระดับยากจนกว่า ซึ่งถึงแม้จะไม่สามารถเลือกวัคซีนได้ แต่ในระดับที่นานาชาติร่วมมือกัน การกระจายวัคซีนมาให้ประเทศต่างๆที่เข้าร่วม จะเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพอยู่แล้ว จึงดูเป็นการกระทำที่ไม่บริสุทธิ์ใจต่อประชาชน หรืออาจจะมีเบื้องลึกในเรื่องของสัญญาซื้อขายก็เป็นได้

          หรือในมุมมองของคานท์โดยรวม การจัดซื้อวัคซีนยังคงเป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์หรือไม่ตรงกับหลัก         จริยศาสตร์ของคานท์ รวมทั้งรัฐบาลหรือองค์กรภายในประเทศยังปิดกั้นการจัดหาวัคซีนหรือเป็นการยืดเยื้อการนำเข้าวัคซีนที่มีคุณภาพ ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสได้รับวัคซีนที่ดี หรือได้รับแต่ต้องเสียเงินเอง ซึ่งผิดกับมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งถึงแม้การที่จะมีวัคซีนอย่างซิโนแวคมาฉีดฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เป็นวัคซีนที่ด้อยคุณภาพ ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลในหลักการความเชื่อของอิมมานูเอล คานท์ ทั้งที่วัคซีนอื่นที่มีคุณภาพที่ราคาถูกกว่าหรือมากกว่าเพียงไม่กี่บาทกลับไม่ได้ถูกจัดสรรให้ประชาชนนั้นได้รับการฉีดฟรี ต้องเสียเงินในการฉีดเอง ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนควรลดค่าใช้จ่ายลง แต่กลับต้องมาแบ่งรับค่าช้จ่ายในการรับวัคซีนที่มีคุณภาพกว่าเอง

          จึงเห็นได้ชัดว่าการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น เป็นการจัดซื้อที่ขัดกับความต้องการของประชาชนและสร้างความเดือดร้อน รวมถึงสร้างความกังวลในคุณภาพของวัคซีนที่ประชาชนจะได้รับ และยังมีผลข้างเคียงที่ประชาชนอาจเสียชีวิตได้ จึงไม่เป็นการกระทำที่ดี และไม่มีคุณธรรม ไม่ถือเป็นเจตจำนงที่ดีของรัฐบาลที่จะให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ

นางชลดา สืบมี (งานที่ 2)

นางชลดา  สืบมี ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

ชั้นปีที่ 1  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

จอห์น ล็อก มองการประชุมประท้วงของกลุ่มนักศึกษา ในการยกเลิก มาตรา 112 อย่างไร

ตอบ  แนวคิดเรื่องเสรีภาพของจอห์น ล็อค

สภาวะธรรมชาติ แนวคิดเรื่องเสรีภาพของล็อคนั้น เราสามารถค้นพบความคิดของเขาในหนังสือปรัชญาการเมืองว่าด้วยกำเนิด รัฐ จุดมุ่งหมายของรัฐ และ อำนาจรัฐ เป็นการแสดงให้เห็นถึงรากฐานของการก่อกำเนิดรัฐขึ้นมาจากคน ๆ หนึ่งไปสู่ กลุ่มคน จากกลุ่มคนไปสู่เมือง จากเมืองไปสู่รัฐ การแสดงให้เห็นถึงสิทธิและเสรีภาพที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐและการ คุ้มครองสิทธิส่วนตัวจากรัฐที่ตนสังกัด อีกทั้งได้บ่งบอกถึงจุดมุ่งหมายของการตั้งรัฐและขอบเขตในการใช้อำนาจของรัฐ ในการพิทักษ์สิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่อยู่ในรัฐ ล็อคได้กล่าวว่าก่อนที่เราจะทำความเข้าใจในเรื่องการกำเนิดของรัฐจำเป็นที่ต้องเข้าใจสภาพดั้งเดิมที่มนุษย์ ดำรงชีวิตอยู่ก่อนที่จะมีอำนาจรัฐหรือรัฐเกิดขึ้น และเข้าใจถึงเหตุผลที่มนุษย์จึงละสภาพเช่นที่ว่านี้ซึ่งเรียกว่า “สภาวะ ธรรมชาติ” สภาวะธรรมชาตินั้นลักษณะเฉพาะอยู่สองประการ คือ เป็นสภาวะที่มนุษย์มีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มนุษย์มีเสรีภาพที่จะกระทำตามความปรารถนาของตนกับตัวเขาเอง กับสิ่งที่เป็นของเขา และของบุคคลอื่น โดย “ไม่ขึ้นกับเจตจำนงของผู้หนึ่งผู้ใด” เขามีสิทธิที่จะไม่ทำตามความประสงค์ของคนอื่น นี้คือ ความหมายของเสรีภาพ ส่วนความเสมอภาคที่มนุษย์มีเท่าเทียมกันเป็นความเสมอภาคเกี่ยวกับ “อำนาจและการ ตัดสินที่ทุกคนมีต่อกัน ไม่มีใครมีมากกว่าใคร” ดังนั้น ในสภาวะธรรมชาติที่บริสุทธิ์มนุษย์ทุกคนจึงมีอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ความเป็นอิสระจากกันของมนุษย์ทุกคนนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อของล็อคที่ว่าเราทุกคนเป็นผลงานของพระ เจ้าองค์เดียวกัน เราเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นและส่งมายังโลก เราเป็นแม้กระทั่ง “สมบัติของ พระองค์” เมื่อพระองค์ทรงสร้างให้เรามีคุณสมบัติอย่างเดียวกัน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราจึงเท่าเทียม กันและไม่ขึ้นต่อกัน เราทุกคนขึ้นอยู่กับพระเจ้า ขึ้นกับน้ำพระทัยความพอใจของพระองค์เหมือนกันหมด คือทุกคนไม่ เป็นอิสระจากพระเจ้าเหมือนกัน ความคิดนี้เป็นสิ่งที่ล็อคและคนทั่วไปในสังคมของเขาได้ยอมรับกันทั่วไปเหมือนกัน หมดในจิตสำนึก และจากความคิดนี้เอง ทำให้ล็อค สรุปได้ว่าไม่มีใครอยู่ใต้อำนาจหรือใต้การปกครองของใคร พระเจ้า ซึ่งเป็นนายของเราทุกคนไม่เคยมีพระประสงค์ที่จะให้มนุษย์คนใดหรือกลุ่มใดได้รับสิทธิจากพระองค์มีอำนาจมากกว่า ผู้อื่น แต่ในสภาวะธรรมชาติที่ทุกคนมีเสรีภาพและไม่ขึ้นแก่กันเท่าเทียมกันนี้ แม้ไม่มีรัฐบาลก็ตาม ล็อคก็เชื่อว่ามัน เป็นสภาพที่ไม่มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือทำร้ายทำอันตรายแก่ผู้อื่น เพราะว่า “สภาวะธรรมชาติมีกฎของธรรม ขาติซึ่งใช้บังคับกับคนทุกคน และเหตุผลซึ่งคือกฎนั้นสอนว่า ทุกคนไม่ควรทำอันตรายแก่ผู้อื่นในด้านชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สมบัติ” สิ่งเดียวที่ควบคุมความปรารถนาของมนุษย์ให้อยู่ภายใต้ขอบเขตคือเหตุผลของตัวเขาเอง เราทุกคนเกิด มามีเสรีภาพเท่า ๆ กับที่เราเกิดมาเป็นผู้ที่มีเหตุผล เหตุผล คือ “เสียงของพระเจ้าในตัวเรา” พระเจ้าให้สิ่งนี้มากับ มนุษย์ทุกคนเพื่อใช้เป็น “กฎระหว่างมนุษย์ด้วยกัน” เหตุผลจึงเป็นสิ่งที่บอกให้เรารู้สิทธิพื้นฐานตามธรรมชาติคือกฎ ของเหตุผล เสรีภาพของมนุษย์ทุกคนในสภาวะธรรมชาติต้องอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติดังนั้น สภาวะธรรมชาติจึงเป็นสา วะที่มนุษย์ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติไม่ใช่ “ภาวะสงคราม” อย่างที่มีบางคนสับสน คำว่าบางคนในที่นี้ ล็อคคง เจตนาที่จะหมายถึงฮอบส์ผู้ที่มีความเชื่อว่าสภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะสงครามที่มนุษย์ใช้กำลังทำลายล้างแย่งชิงกัน สำหรับล็อคแล้ว สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีสันติภาพ ความปรารถนาดี การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการธำรงรักษาชีวิตและทรัพย์สิน กฎธรรมชาติที่เรารู้ได้ด้วยเหตุผลบอกว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้ามีการฝ่าฝืนกฎ ในสภาวะธรรมชาติจะมีการ ลงโทษผู้ละเมิดด้วย เพราะเขาไม่ยอมรับกฎของเหตุผลซึ่งเป็นมาตรฐานของพระเจ้าที่ทรงกำหนดขึ้นไว้เพื่อความ ปลอดภัยของมนุษย์ แต่อำนาจในการลงโทษอยู่ในมือเราทุกคน ทุกคนมีสิทธิลงโทษผู้กระทำความผิดกฎธรรมชาติ เท่าที่จะทำให้เขาเกิดความหลาบจำไม่ทำการละเมิดอีก และเท่าที่จะไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่นอีกต่อไป สำหรับล็อคเขาได้แบ่งกฎสภาวะธรรมชาติออกมาเป็น ๓ กฎ คือ กฎของพระเจ้าหรือกฎเทวะ กฎหมายและ จารีตประเพณีสังคม กฎแรกเป็นกฎที่ใช้ตัดสินการกระทำว่าเป็นบาปหรือเป็นการเคารพเชื่อฟังที่เป็นหน้าที่ของมนุษย์ จึงอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กฎศีลธรรม” ล็อคเชื่อว่ากฎศีลธรรมเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาให้แก่มนุษย์ กฎนี้เป็นกฎ สูงสุดกฎเดียวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และกฎอื่นอีกสองกฎต้องสอดคล้องกับกฎนี้ ดังนั้น กฎศีลธรรมจึงเป็นกฎศักดิ์ สิทธิที่พิทักษ์เสรีของมนุษย์อย่างแท้จริง การยอมรับการปกครองจากรัฐ ล็อคกล่าวว่าเหตุที่มนุษย์ได้ยอมให้มีรัฐหรือมีใครมาปกครองตน มีเหตุเพราะว่าสภาวะธรรมชาติที่เป็นกฎ ดังเดิมองมนุษย์นั้นมีข้อบกพร่องที่เห็นได้ชัดอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. กฎธรรมชาติไม่ได้ถูกเขียนไว้ ณ ที่ใดนอกจากในใจ ของมนุษย์ ถ้าหากมนุษย์ทุกคนยอมให้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง เราจะมองเห็นและปฏิบัติตามกฎธรรมชาติอันเดียวกัน แต่เป็นเพราะว่ามนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา ความโลภและความมักได้ของเขาอาจชักนำให้เขากระทำสิ่งที่ตรงข้าม กับเหตุผล เมื่อใดที่เขามีความพยายามกระทำในสิ่งที่จะได้มาซึ่งทรัพย์สินของคนอื่น มันย่อมก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย

๒. ในสภาวะธรรมชาติ คนแต่ละคนจะเป็นผู้พิพากษาและมีสิทธิลงโทษผู้ละเมิดกฎธรรมชาติ แต่การที่ปล่อย ให้มนุษย์ตัดสินกรณีที่เขาทำผิดเอง เราไม่อาจไว้ใจการตัดสินของเขาได้ เพราะมันเป็นการยากที่เขาจะไม่เกิดอคติและ ไม่เอาตัวเขาเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เราจึงอาจตัดสินรุนแรงเกินไปโดยใช้อารมณ์ และการแก้แค้นในกรณีที่เขาเองเป็น ผู้เสียหาย แต่ในทางตรงกันข้าม เขาอาจละเลยไม่สนใจในกรณีขัดแย้งของผู้อื่นเขาไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ฉะนั้น ใน สภาวะธรรมชาติจึงขาด “ผู้พิพากษาที่รู้จักความเป็นกลาง”

๓. แม้ว่าในสภาวะธรรมชาติอาจมีผู้พิพากษาที่เที่ยงธรรม เป็นกลางและมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แต่ก็มีบ่อยครั้งที่มันยังขาด “อำนาจที่จะค้ำประกันและสนับสนุนคำพิพากษาที่ ถูกต้องและที่จะจัดให้เป็นไปตามนั้น” ฝ่ายที่เสียหายอาจไม่มีกำลังเพียงพอที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ มีอำนาจบริหารที่จะจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ด้วยเหตุที่สภาวะธรรมชาติความบกพร่องดังที่กล่าวมานี้ เพื่อตอบสนองการต้องการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี ความสุข รัฐบาลจึงเกิดขึ้นโดยคนในสังคมได้ยินยอมให้มีคณะกลุ่มคนที่มีความเที่ยงธรรมและความสามารถในการ ปกครองกลุ่มชนให้มีความสุข หรือกล่าวได้ว่าสังคมการเมืองเกิดขึ้นจากการยินยอมเท่านั้น ความยินยอมนี้เกิดขึ้นเมื่อ เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่รู้จักใช้เหตุผลที่จะเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามใจของเขาได้ หากเขาเลือกที่จะไม่ออกจากสังคมที่เขาถือ กำเนิดมา ก็ถือว่าเขายินยอมให้รัฐมีอำนาจปกครองเหนือสิทธิเสรีภาพของเขาเอง การยินยอมนี้เป็นการยินยอมที่จะอยู่ ภายใต้เจตจำนงและการตัดสินชี้ขาดของเสียงข้างมาก เพราะสังคมการเมืองจะกระทำอะไรหรือมีอยู่ต่อไปไม่ได้ ถ้าจะ ให้ข้อเสนอทุกอย่างได้รับความยินยอมจากคนทุกคนในสังคม ในสภาวะใหม่ซึ่งเป็นสภาวะที่ใช้อำนาจทางการเมืองนี้ ล็อคได้นิยามอำนาจทางการเมืองว่า คือ “สิทธิ ที่จะ สร้างกฎหมายที่มีบทประมวลลงโทษถึงตาย รวมทั้งบทลงโทษอื่นที่เบากว่าทั้งหมดและใช้อำนาจของชุมชนที่จะปฏิบัติ ตามกฎหมายดังกล่าว และป้องกันชุมชนจากการรุกรานภายนอก” เราอาจกล่าวได้ว่าเมื่อว่ากันโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำอะไรก็ได้ตามใจตน แต่เมื่อเขาคิดเข้าอยู่กับผู้อื่นในสังคมก็ต้องยอมรับสิทธิเสรีภาพของ คนอื่น ๆ ในสังคม และเขายังต้องได้รับโทษจากการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น ไม่ว่าเขาจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงจากการลงโทษรัฐที่มอบอำนาจให้คณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งทำ หน้าที่พิพากษาโทษและลงโทษผู้ที่กระทำความผิด

 จุดมุ่งหมายการใช้อำนาจของรัฐ ล็อคได้กล่าวว่าอำนาจของรัฐนั้นเกิดจากการที่ทุกคนในสังคมยินยอมให้รัฐกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของทุกคนในสังคม ดังนั้น รัฐจึงจะต้องใช้อำนาจเพื่อป้องกันชีวิต เสรีภาพ และ  ทรัพย์สินของประชาชนในรัฐ การกระทำใดในการใช้อำนาจจึงจะต้องประกอบด้วยหลัก ๔ ประการ ดังนี้

๑. กฎหมาย ต้องใช้กับทุกคนทัดเทียมกัน ไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจน

๒. กฎหมายต้องไม่ใช้ตามอำเภอใจและเพื่อการกดขี่ แต่ต้องใช้ เพื่อประโยชน์ของประชาชน

๓. องค์กรนิติบัญญัติต้องไม่ขึ้นภาษีโดยปราศจากการยินยอมจากประชาชน

๔. องค์กรนิติ บัญญัติไม่อาจมอบอำนาจในการจัดทำกฎหมายแก่บุคคลใดโดยเฉพาะ หลัก ๔ ประการนี้จะเป็นหลักประกันว่ารัฐจะไม่สามารถคุกคามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยไม่ เป็นธรรม ประชาชนมีสิทธิที่กระทำสิ่งใดก็ตามด้วยความเป็นอิสรเสรี หากการกระทำของเขาไม่ผิดกฎหมายของรัฐที่ เป็นธรรม เพราะว่าการมีขึ้นของกฎหมายก็เพื่อปกป้องสิทธิตามสภาวะธรรมชาติที่มีอยู่กับมนุษย์ตั้งแต่เดิม ก็เพราะว่า “วัตถุประสงค์ของกฎหมายไม่ใช่เพื่อยกเลิกหรือจำกัด แต่เพื่อรักษาและขยายเสรีภาพ ที่ใดไม่มีกฎหมาย ที่นั่นไม่มี เสรีภาพ เพราะเสรีภาพของเขาก็ต้องเป็นสิทธิที่จะจัดการและจัดระเบียบด้วยตัวของเขาเอง การกระทำอันเป็นตาม อิสระของเขา ก็ล้วนเป็นสิ่งที่กฎหมายไม่อาจขัดขวางได้ หากกระทำของเขาไม่ได้ล่วงสิทธิเสรีภาพของผู้ใด และการที่ กฎหมายจะกระทำการใช้อำนาจใด ๆ ต่อเขา ก็เพราะว่าเขายินยอมให้กระทำเช่นนั้น เพราะมันจะต้องเป็นไปตาม เจตจำนงเสรีของเขา” นี้หมายความว่า สิทธิตามธรรมชาติยังคงอยู่กับมนุษย์ทุกคน แม้ว่าเขาจะมารวมกันเป็นสังคมที่มี กฎหมายควบคุมอยู่ก็ตาม เขาก็ยังมีเสรีภาพอยู่ เพราะเสรีภาพไม่ใช่การกระทำสิ่งใดตามใจชอบ แต่เป็นการท าตามสิ่ง ที่เป็นไปตามเจตจำนงประสงค์ของตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต รัฐมีจุดหมายที่จะควบคุมสิทธิเหล่านี้ให้ น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นที่จะทำให้การปกป้องสิทธิดังกล่าวให้เป็นไปอย่างได้ผล กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิธรรมชาติของคน ๆ หนึ่งถูกจำกัดเพื่อให้สิทธิอย่างเดียวกันของผู้อื่นนั้นได้มีผลเป็นไปได้ทัดเทียมกัน กฎหมายจึงไม่ใช่สิ่งที่ทำลายหรือ ขัดขวางเสรีภาพ แต่มันสนับสนุนส่งเสริมเสรีภาพ การที่คนแต่ละคนยินยอมอยู่ในสังคมการเมืองและยอมรับกฎหมาย ของสังคมนั้นเป็นไปด้วยความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของเขาเอง เขาไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของผู้อื่น ตัวเขาเอง มีอิสรภาพในตัวเองอย่างเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ สรุปว่าแนวคิดเรื่องเสรีภาพของจอห์น ล็อค ได้ดังนี้ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำกรรม ใด ๆ ก็ตามดังที่ใจปรารถนา โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับจิตจำนงของใคร หรือต้องมีใครมาบังคับให้กระทำหรือห้ามการ กระทำ และเมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องมาอยู่ร่วมกัน จึงต้องมีกฎหมายและรัฐขึ้นมาเพื่อที่คนแต่ละคนในสังคม จะได้มีความสุขในการอยู่ร่วมกันและเหตุที่ต้องมีกฎหมายก็เพราะว่าสภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีความบกพร่องมา แต่เดิมอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. ขาดกฎหมายที่เป็นที่ตกลงและยอมรับที่จะใช้ตัดสินข้อพิพาททั้งปวง

 ๒. ขาดผู้พิพากษาที่ ทุกคนยอมรับและมีความเป็นกลาง

๓. ขาดอำนาจที่ค้ำประกันและสนับสนุนคำพิพากษาที่ถูกต้องและที่จะจัดให้เป็นไป ตามนั้น

กฎหมายที่รัฐอันเป็นคณะบุคคลที่ทุกคนในสังคมให้ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความสุขแก่ทุก คนในสังคมนั้นจะต้องเป็นกฎหมายที่ประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ

๑. กฎหมายต้องใช้กับคนทุกคนเท่าเทียม กัน ไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจน

๒. กฎหมายต้องไม่ใช้ตามอำเภอใจและเพื่อการกดขี่ แต่ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของ ประชาชน

๓. องค์กรนิติบัญญัติต้องไม่ขึ้นภาษีโดยปราศจากความยินยอมของประชาชน

๔. องค์กรนิติบัญญัติ ไม่อาจมอบอำนาจในการจัดทำกฎหมายให้แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ  ดังนั้น แนวคิดเรื่องเสรีภาพในทัศนะของจอห์น ล็อค ซึ่งเป็นนักปรัชญาคนแรกของตะวันตกที่กล่าวถึงความ เสมอภาพของปัจเจกชน ในขณะที่สังคมที่เขาอยู่นั้นเป็นสังคมที่มอบอำนาจความเป็นใหญ่ในการบริหารประเทศและ ครอบครองทรัพย์สินของประเทศให้แก่พระราชาและบรรดาพวกขุนนางศักดินา โดยคนเหล่านี้มีสิทธิโดยชอบธรรมตาม กฎหมายที่พวกตนบัญญัติขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิของประชาชนที่จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายในการ ป้องกันชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สินที่ตนมีอยู่ ล็อคจึงกล่าวถึงสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนมีอยู่ตามกำเนิด และการมีอยู่ของรัฐนั้นก็เกิดจากการที่ทุกคนในสังคมได้ยินยอมให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจัดทำกฎหมายและใช้กฎหมาย เพื่อปกป้องสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มนุษย์ทุก คนจึงมีเสรีภาพในการกระทำของตน ไม่ว่าจะเป็นการพูดและการกระทำในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนปรารถนา โดยไม่ได้รับ การขัดขวางจากบุคคลอื่น เว้นแต่การกระทำของเขานั้นได้ล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการมีชีวิตอยู่ของคนอื่น รัฐจึง จะมีอำนาจลงโทษตั้งแต่ขั้นสูงสุดถึงเบาโดยความยุติธรรม

ร้อยตำรวจเอกวีระ พีระพลพันธ์ (งานที่ 2)

ร้อยตำรวจเอกวีระ    พีระพลพันธ์  ปริญญาโท  คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต(รป.ม.)         ชั้นปี่ที่ 1 มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิทยาเขตสุรินทร์

……………………………………………………………………………………………………………………………….

    งานชื้นที่ 2 ปัญหาเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิด เติ้งเสี่ยวผิงจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยอย่างไร

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ในประเทศไทย ซึ่งอาจจะกินระยะเวลายาวนาน 2 – 3 ปี เป็นอย่างน้อยนับจากนี้ ทำให้สภาวะทางเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบเนื่องจากที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการลงทุนของนักลงทุนข้ามชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและการเดินทางเข้ามาของท่องเที่ยวจากต่างประเทศ จากสถานการณ์โรคระบาดโรงงานปิดตัวลงและไม่มีการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดปัญหาการเลิกจ้าง  การว่างงาน   การเลิกกิจการ ทำให้กระทบกับระบบเศรษฐกิจเป็นลูกโซ่

          การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด จะต้องคิดนอกกรอบและลดการพึ่งพาการลงทุนจากนักลงทุนข้ามชาติและธุรกิจต่างๆจากต่างชาติ โดยหันมาใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศให้เกิดประโยชน์มากที่สุด พึ่งพาแรงงานในประเทศ สร้างตลาดในประเทศ และฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ได้โดยเร็วที่สุด ดังนี้

          1.ส่งเสริมการทำการเกษตรผสมผสาน และการปลูกพืชเศรษฐกิจ  เพื่อสร้างรายได้ ตามแนวคิด “การมุ่งมั่นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงมากกว่าการยึดติดทฤษฎีหรือตำรา”โดยมีรัฐคอยสนับสนุนในเรื่องการลงทุนพื้นที่ฐานและระบบบริหารจัดการต่างๆ ให้กับประชาชน และรัฐเป็นผู้จัดหาตลาดเพื่อกระจายผลผลิตให้กับประชาชนหลังจากได้ผลผลิตแล้ว ให้กระจายไปทุกอำเภอ จังหวัด แลระดับประเทศ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบภายในประเทศ

          2.สนับสนุน ธุรกิจขนาดย่อม ควบคุมดูแลไม่ให้มีการผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่ และสนับสนุนเงินทุนให้ถึงธุรกิจทุกระดับทั้งธุรกิจขนาดย่อง  ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และสนับสนุนการลงทุนกลุ่ม Stare Up ในกิจการใหม่ๆ  ของคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดธุรกิจระบบใหม่ๆเกิดขึ้น ตามแนวคิด “ไม่วาแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี”

          3.กระจายอำนาจ ทรัพยากรและ ความรู้สู่ระดับท้องถิ่นให้ทั่วถึงเพื่อให้ชุมนุมขนาดเล็กพึ่งพาตนเองและแข่งขันกันได้อย่างเสรีและเพื่อให้เกิดการจ้างงานกระจายรายได้ไปในท้องถิ่น และสนับสนุนให้จังหวัดที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกันแลกเปลี่ยนค้าขายกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

ร.ต.อ.อธิโชค พุทธปิยบูชา (งานที่ 2)

นโยบายการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดกับการซื้อวัคซีนคุณภาพที่ป้องกันโควิดได้ ในมุมมองของไฮเดกเกอร์เป็นอย่างไร จงอธิบาย

          ไฮเดกเกอร์จะมองละเอียดอ่อนในด้านคุณธรรม ศีลธรรม มองว่า การเยียวยาผู้ได้ผลกระทบจากโควิด จะต้อง

เยียวยาอย่างมีคุณธรรมอย่างเสมอภาคในทุกๆด้าน ทุกๆคน การเยียวยาในมุมมองของไฮเดกเกอร์ ควรแบ่งเป็น 2กลุ่ม ดังนี้

1.ผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโควิดโดยตรง

2.ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด

          ไฮเดกเกอร์มองว่านโยบายการเยียวยาต่อกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบต่อเชื้อโควิดโดยตรง(ติดเชื้อ) ตามหลัก ปัจจเจกชน ของไฮเดกเกอร์

1.จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

2.จะต้องมีศูนย์หรือสถานที่ หรือโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับรักษาผู้ติดเชื้อโควิด อย่างเพียงพอ

3.จัดหาบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อการดูแลอย่างใกล้ชิด

4. จัดซื้อวัคซีนที่มีคุณภาพเข้ามารักษาอย่างเร่งด่วนและพอเพียง

5.ผลิตและทดลองวัคซีนเองอย่างมีคุณภาพ

6.ควบคุมดูแลจำกัดบริเวณผู้ที่ใกล้ชิด หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ โซนนิ่งจุดที่พบเชื้อ สังเกตอาการอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

7.ฉีดวัคซีนให้ครบทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่

          นโยบายการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในมุมมองของไฮเดกเกอร์ มองว่ามีผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของพี่น้องประชาชนและกระทบไปในทุกภาคส่วนทุกองค์กร รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประกอบการโรงแรม ที่พัก ธุรกิจท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ผู้ประกอบการร้านอาหารและอีกมากมายรวมทั้งปัญหาการตกงานจากพิษการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดนโยบายการเยียวยาของไฮเดกเกอร์เห็นว่า

               1.ให้กลุ่มผู้ประกอบการมาขึ้นทะเบียนแจงรายรับรายจ่ายของกิจการที่โดนพิษโควิด

               2.รัฐบาลควรให้เงินกู้กับผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ยและกำหนดกรอบเงื่อนไขการชำระคืน        3.รัฐบาลควรเร่งฟื้นฟูประเทศให้ปราศจากโควิด ผลักดันเศรษฐกิจวิถีชีวิตของประชาชนให้มาดีกว่าเดิม       4.จัดหาอาชีพให้กับกลุ่มผู้ที่ตกงานในฮ้วงของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด เช่น รับสมัครบรรจุแต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานราชการในจำนวนหลายๆอัตราทั่วประเทศ เป็นต้น

          มุมมองการซื้อวัคซีนที่มีคุณภาพของไฮเดกเกอร์ควรจัดซื้อในประเทศที่เขาประสบความสำเร็จในการรักษาประชาชนของเขา ควรจัดซื้อคุณภาพวัคซีนเกรดเอ ที่มีคุณภาพที่สุดมาให้ประชาชน แต่อีกมุมหนึ่งมองว่า รัฐบาลปัจจุบันลุแก่อำนาจ ไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะนำพาพี่น้องประชาชนผ่าวิกฤตโควิดนี้ไปได้ มีการคอลัปชั่นที่สูงมากเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับตนและพวกพ้อง โอกาสที่จะได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพและป้องกันโควิดได้Impossible เป็นไปไม่ได้  ครับ

ร.ต.อ.อธิโชค พุทธปิยบูชา

๑๔ กรกฎาคม ๖๔

นางสาวสายยวน ทรงศรี (งานที่ 2)

นางสาวสายยวน ทรงศรี ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

ใบงานที่ ๒ การโอนอำนาจชั่วคราวตามกฎหมายของรัฐมนตรีจำนวน 31 ฉบับมาอยู่ในมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยข้อกล่าวอ้าง “เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19”เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในมุมมองของโสเครติสเป็นอย่างไร

ตอบ  อำนาจหากได้มาโดยความไม่ชอบไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย การโอนอำนาจชั่วคราว 31 ฉบับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยข้อกล่าวอ้าง “เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19”นั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ดีหากผู้ปกครองดีมีคุณธรรมและเสริมสร้างให้ประชานมีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นแต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ได้มองเห็นคือความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยกับคน จนคนมีอำนาจกับสามัญชนคนธรรมดาที่ผ่านมาในหลายปีประเทศไทยยังคงย่ำอยู่กับที่และที่เลวร้ายไป กว่านั้นยังมาประสบกับปัญหาโรคระบาด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอำนาจอยู่ในมือแต่หากขาด ปัญญา ความกล้าหาญ การควบคุมตนเองและความยุติธรรม ความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขการกินดีอยู่ดีก็ ไม่เกิดกับประชาชน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการใช้ พรก. ฉุกเฉินก็ดี การล็อกดาวส์ก็ดี หากผู้ปกครองไม่มีความ ยุติธรรมก็หาเกิดประโยชน์ไม่

   หากโสเครติสยังมีชีวิตอยู่ในช่วงการเมืองของไทยที่ต้องการผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จภายใต้เงาการสั่ง การโดยพระราชาของประเทศคงถือได้ว่าเป็นผู้นำที่ชอบธรรมทางกฎหมายกล่าวคือโสเครติสยอมรับ กฎหมายมากนถึงขนาดยอมตายเพื่อรักษากฎหมาย ถึงแม้ว่ากฎหมายนั้นจะใช้อคติในการตรากฎหมายนั้นก็ตาม ดังนั้นการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยหรือรัฐผสมตามแนวคิดของท่านจึงให้ใครก็ได้ที่ต้องการทำให้สังคมดีขึ้นจะด้วยวิธีใดก็ตาม รัฐบาลไทยก็เช่นเดียวกัน

   วิธีการคิดและกระบวนการหาความรู้ การโอนอำนาจมาอยู่ในมือของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์อาชา เพื่อแก้ไขสถานการณ์โควิด-19นั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ( หรือไม่ ) ถ้าหากว่าไม่ใช่รัฐบาลจะมีวิธีการเตรียมพร้อมและรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างไร

   ประเด็นสำคัญมีอยู่ 2 อย่างคือ ข้อเสนอที่มีเหตุผล และข้อคัดค้าน

  1. เหตุผล โสเครติสยอมรับในการโอนอำนาจชั่วคราว 31 ฉบับมาบังคับใช้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด-19เพื่อให้ประชาชนผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีประกาศ พรก.ฉุกเฉินก็ดี ประกาศล็อคดาวน์-เคอร์ฟิวก็ดี หากวิธีการนั้นเป็นวิธีการและเหตุผลที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
  2.  ข้อคัดค้าน หากวิธีการที่นั้นเกิดข้อผิดพลาดหรือเสียหายรัฐบาลจะมีวิธีการแก้ไขรับมือและรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ไหม อย่างไร

กระบวนการแสวงหาความจริงโดยวิภาษวิธี ( Dialectic )

คือการนำข้อเสนอที่มีเหตุผล Thesis และข้อคัดค้าน Antithesis มาหักล้างกันกระบวนการนี้ทำให้ข้อเสนอที่ไม่มีเหตุผลตกไปคงเหลืออยู่เฉพาะข้อเสนอที่มีเหตุผล

      ดังนั้นในมุมมอองของโสเครติสมองว่าการโอนอำนาจมาอยู่ในมือของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์อาชา เพื่อแก้ไขสถานการณ์โควิด-19นั้นไม่ใช่วิธีการและเหตุผลที่ดีที่สุดเพราะประชาชนได้แลเห็นแล้วว่ากฎหมายที่บังคับใช้มีความล้มเหลวและมีแต่จะเพิ่มความเดือดร้อนอย่างทวีคูณให้กับประชาชน

พระทิพยรส ตนฺติปาโล (งานที่ 2)

พระทิพยรส  ตนฺติปาโล (ศรีสุข) คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รป.ม.)

วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

งานที่ ๒ แนวคิดของมหาตมะ คานธี ต่อนโยบายการล็อคดาวน์ ๑๐ จังหวัดของประเทศไทยเพื่อลดการติดเชื้อโควิดเพิ่ม

          กรณีที่รัฐบาลไทยได้สั่งล็อคดาวน์ 10 จังหวัดเพื่อไม่ให้เกิดโรค covid เพิ่มขึ้นซึ่งหลักการทำอย่างนี้จะทำให้ประชาชนเกิดภาวะในการดำเนินชีวิตที่ติดขัดเพราะต่างคนต่างต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีวิตแต่เมื่อจะทำให้โรคโควิดเบาบางลงจำเป็นต้องแก้ปัญหา

ในหัวข้อนี้ขออธิบายแนวคิดของ มหาตมะ คานธี มาวิเคราะห์ใช้เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยลง โดยหลักของมหาตมะ คานธี เรียกว่าหลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ซึ่งมีหลักก็คือการไม่ใช้ความรุนแรง การใช้ความเชื่อ ความวิริยะ อุตสาหะสมาธิและปัญญา โดยไม่ใช้ความรุนแรง

ซึ่งถ้าประชาชนมีศรัทธาว่าโรคนี้จะต้องหายและเราประชาชนชาวไทยต้องร่วมมือร่วมใจกันโดยไม่ใช้ความรุนแรงเข้ามาตัดสินปัญหาต้องใช้ความอดทนอาศัยพลังของประชาชนร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้โรคนี้หายไปจากประเทศไทย

ซึ่งทั้งฝั่งของรัฐบาลและฝั่งของประชาชนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันไม่ขัดแย้งกันทำให้สองฝ่ายเกิดสันติภาพรัฐบาลก็ต้องให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนที่เหมาะสมไม่เป็นการกดดันประชาชน

รัฐบาลเองเป็นผู้กำหนดนโยบายที่จะล็อคดาวน์ประเทศซึ่งยึด 10 จังหวัดเป็นหลักในการล็อคดาวน์เพราะเป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดจึงทำให้รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลต้องใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาโดยไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจของประเทศและไวรัสที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องทำให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธาต่อรัฐบาลเอง

ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีสัจจะและความจริงโดยไม่ปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นสถิติผู้ติดเชื้อโดยจะต้องดำเนินงานควบคุมด้วยความไม่ประมาทใส่ใจต่อประชาชนให้มากโดยไม่เพิกเฉยต่อความเป็นอยู่ของประชาชนซึ่งถ้าทำตามหลักของมหาตมะ คานธี แล้วเชื่อได้ว่าการกระจายตัวของเชื้อไวรัสโควิดจะต้องเบาบางลงหรือไม่ก็หมดไปจากประเทศไทยอย่างแน่นอน

พระอภิมุข สนตฺจิตโต (งานที่ 2)

พระอภิมุข  ฉายา สนตฺจิตโต นามสกุล ชิดชอบ ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (รป.ม.) ชั้นปีที่ ๑ มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเขตสุรินทร์

วันจันทร์ที่ ๑๐ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔

งานชิ้นที่สอง ให้นำปรัชญาอไคนัสมาวิจารณ์นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล

ตอบ

แบ่งเป็นปรัชณาตาม ๕ ประเภทแนวคิดของอไควนัสมาวิจารณ์นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล

๑. ลักษณะทั่วไป

          ในการถกแก้ปัญหาวัคซีนของรัฐบาล อไควนัสจะทำเป็นไม่แน่ใจว่าจะตอบอย่างไรดี ครั้นใช้เหตุผลพิสูจน์วัคซีนดูจึงจะพบคำตอบ และเป็นคำตอบที่น่าเชื่อเพราะถือว่ามีเหตุผลสนับสนุนอย่างมั่นคงจากสิถิติการฉีดวัคซีนโควิดในข้อมูลสากลการติดเชื้อได้รับวัคซีนขององค์กรอนามัยโลก คำตอบนั้นจึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิวรณ์ นั่นเป็นเพียงวิธีการเท่านั้น ความจริงแล้วอไควนัสมีคำตอบอยู่ล่วงหน้าแล้วว่า ในปัญหาดังกล่าวจะต้องตอบอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเชื่อของประชาชน แล้วจึงพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนและตอบโต้ข้อข้องใจต่างๆ

          ความคิดของอไควนัสสอดคล้องกันทั้งหมดเป็นระบบ แต่ก็สอดคล้องกันเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ หาได้สอดคล้องกันแบบนิรนัยไม่ กล่าวคือ มิได้พิสูจน์ตามลำดับชั้นเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ เรื่องนี้แหละที่เป็นจุดบกพร่องในการใช้เหตุผลของนักปรัชญาอไควนัส และจะเรียกร้องให้แก้ไขโดยใช้วิธีพิสูจน์แบบเรขาคณิตเชิงสิถิติ

๒. เหตุผล

          อไควนัสยอมรับเหตุผลการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาลว่าเป็นเครื่องหมายแห่งศักดิ์ศรีของรัฐบาล ประชาชนจึงควรเถิดทูนตัวเองโดยคิดด้วยเหตุผลและกระทำการอย่างมีเหตุผล เหตุผลจึงเป็นเครื่องมือแห่งการสร้างระบบความคิดของอไควนัสในการฉีดวัคซีนโควิดหาข้อมูลความจริง ทำให้ประชาชนกล้าฉีดวัคซีนไม่กลัวตาย

          ตรรกวิทยาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคคือ

๑) ตรรกวิทยาตัดสิน ตรงกับนิรนัยของเรา

๒) ตรรกวิทยาวิจัย ตรงกับอุปนัยของเรา

๓) ตรรกวิทยาอภิปราย ศึกษาเกี่ยวกับเหตุผลวิบัติ การเปรียบเทียบและวาทศิลป์

๓. ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับเทววิทยา

          อไควนัสชี้แจงว่าปรัชญาช่วยรัฐบาลอยู่ ๓ เรื่องคือ

                    ๑.พิสูจน์ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล

                    ๒.พิสูจน์ว่าศรัทธาของประชาชนไม่ขัดข้องกับเหตุผลของรัฐบาล

                    ๓.ตอบโต้ผู้ไม่มีศรัทธาในข้อมูลของรัฐบาล

          แต่ทั้งนี้หมายถึงปรัชญาที่ถูกต้อง ถ้าใช้ปรัชญาผิดจะได้ผลตรงข้าม คือ เสื่อมศรัทธาจนอาจเสียความเชื่อมั่นนโยบายของรัฐบาลไปเลยก็ได้

          ตรรกวิทยาช่วยเทววิทยา ๒ เรื่อง คือ

๑.พิสูจน์ว่าข้อเชื่อถือของประชาชนและรัฐบาลไม่ขัดแย้งกันและไม่ขัดแย้งกับความรู้ของประชาชน

๒.จากข้อเชื่อที่มีศรัทธาของประชาชนแล้ว ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับอนุมานไปถึงข้อเชื่ออื่นๆต่อไปได้

๔. โลกทัศน์

          อไควนัสถือว่า เหตุผลเป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้สำหรับแสวงหาความรู้

                    ๑.วัคซีนโควิด = วัคซีน sinovac + วัคซีน astrazeneca

๒.นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล = นโยบายของรัฐบาล + ความเชื่อมั่นความรู้ของประชาชนในชาติ

๓.คนได้รับวัคซีนแล้ว  = บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือพื้นฐานจากรัฐบาลช่วยลดอัตราการติดโควิดในสังคม

๔.หน่วยงานคณะรัฐบาล = ไม่ควรเอาใจเจ้าสัวหรือประเทศหนึ่งมากเกินไป ควรสร้างทางเลือกวัคซีนเกิดความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

ผู้คนประกอบด้วยร่างกายที่เป็นสสารและวัคซีนเป็นแบบที่มีภูมิคุ้มกัน จึงนับว่าผู้คนจำนวนนั้นเป็นสิ่งสมบูรณ์ที่สุดในระดับสังคม ไม่สร้างให้คนอื่นติดเชื่อโควิดเพิ่มเติม

๕.จริยศาตร์

          อไควนัส เห็นว่าจุดหมายในชีวิตคือ การได้เข้าใจสัจธรรมของโลกและในชีวิตต่อไปในโลกหน้า เพราะสิ่งที่มนุษย์แสวงหาก็คือความสุข เป็นศิลปะและศาสตร์แห่งการที่จะเตรียมใจมนุษย์ เพื่อจะได้บรรลุถึงความสุขสุดยอด ตามธรรมดาแล้ว ผู้คนมีแนวโน้มเอียงในทางที่ดี คือมีความโน้มเอียงไปหาวัคซีนที่ตนเองปรารถนา แต่สิ่งที่พิจารณาตัดสินว่าดีนั้น ในด้านศีลธรรมของรัฐบาลที่นำเข้ามาอาจไม่ถือว่าดีเสมอไปก็ได้

          จากการได้ศึกษาแนวคิดทางปรัชญาของอไควนัสนั้น อไควนัส เชื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่ของความจริงของปัญหาไวรัสโคโรน่า19 ในภาวะที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ ไม่เพียงแต่การรับรู้ด้วยเหตุและผลเท่านั้น แต่เป็นการสังเกตพฤติการณ์ของโลกเพื่อช่วยในการบริหารนโยบายจัดการวัคซีนของรัฐบาลได้ต่อไป