เรื่องทั้งหมดโดย admin

พระชัชวาล สิริวณฺโณ (อาจนะรา)

การแก้ไขปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดในสังคม อริสโตเติล มองปัญหายาเสพติดอย่างไร

ตัวอย่างหนึ่งคือมุมมองต่อ “ความสุข” ของอริสโตเติล

แนวความคิดของอริสโตเติล มองว่า “เราควรมีชีวิตอยู่อย่างไร” ซึ่งคำตอบของอริสโตเติลเป็นการสรุปความง่ายๆ นั่นคือการแสวงหาความสุข

อริสโตเติล ไม่ได้มองว่าความสุขคือความเบิกบานใจในชั่วครู่ และเขาคิดว่าเด็กเล็กไม่อาจมี “ความสุข” ซึ่งบางคนอาจไม่เห็นด้วย บางคนมองว่าวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่มี “ความสุข” สำหรับอริสโตเติลแล้ว วัยเด็กคือช่วงที่ชีวิตเพิ่งเริ่มต้น มนุษย์ยังต้องใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยระยะเวลายาวนานกว่านั้น

การแสวงหาความสุขในที่นี้ไม่ใช่การออกไปข้างนอกแสวงหาความสำราญ หรือนึกถึงวิธีที่จะทำให้สำราญเบิกบานใจอย่างเช่นวันหยุดในต่างแดน หรือใช้เวลาร่วมกับมิตรสหาย อริสโตเติลมองว่าสิ่งเหล่านี้คือส่วนผสมหนึ่งของ “ชีวิตที่ดี” แต่หากได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้เพียงลำพังก็ไม่อาจบอกได้ว่าเป็นชีวิตที่ดี กล่าวคือ ความสุขของอริสโตเติล เป็นสภาวะภายในจิต ซึ่งจะได้มาจากการใช้ชีวิตด้วยวิถีทางที่เหมาะสมที่สุด

ถ้ากล่าวถึงการนำความคิดหรือแนวคิดของอริสโตเติลมาแก้ไขปัญหายาเสพติดที่มีแพร่หลายในชุมชน ซึ่งแนวคิดที่ อริสโตเติลได้มองว่าความสุขความเบิกบานใจเป็นความสุขสำหรับวัยเด็กซึ่งการแสวงหาความสุขในที่นี้ไม่ใช่ว่าจะออกไปข้างนอกอย่างเดียวซึ่งในปัจจุบันนี้ ที่เยาวชนไทยติดยาเสพติดก็เพราะว่าปัญหาเกิดจากการคบเพื่อนที่ได้ชวนกันออกไปนอกสถานที่เพราะขาดความอบอุ่นจากครอบครัว แต่ถ้านำความคิดของอริสโตเติลไปใช้ในรูปแบบของครอบครัวโดยที่พ่อแม่ได้ให้ความสุขอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเอาใจใส่หรือการดูแล การสอนให้รู้จักคิดในสิ่งที่ถูกให้ความรักสิ่งเหล่านี้จะเป็นความสุขพื้นฐานที่เด็กได้รับถ้าเด็กได้รับความสุขอย่างนี้ก็จะทำให้ไม่ต้องออกไปแสวงหาความสุขข้างนอก แล้วก็จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สังคมไทยเยาวชนไทยก็จะไม่มียาเสพติดเข้ามาในชีวิต

เมื่อพ่อแม่สอนให้ลูกหลานได้รู้จักความรักเป็นได้ทั้งเพื่อนพี่น้องเป็นได้ทุกอย่าง สอนให้รู้จักคบเพื่อนว่าเพื่อนคนไหนที่จะนำทางเราไปทางที่ดี ให้รู้จักโทษของยาเสพติดว่าเป็นอย่างไรเมื่อเขารู้จักโทษเหล่านี้แล้วก็จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดี หรือยาเสพติดนั่นเอง

“ชีวิตที่ดี” ในมุมมองของอริสโตเติลถ้าเรานำมาใช้ ให้เข้ากับชีวิตครอบครัวถ้าครอบครัวปลูกฝังให้รู้จักสิ่งที่ดีในชีวิตที่สุดเชื่อได้ว่าเมื่อความสุขในครอบครัวมีแล้วการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสังคมก็จะไม่สามารถเกิดได้เพราะเยาวชนหรือบุคคลที่ได้รับความปลูกฝังให้รู้โทษในสิ่งที่ได้รับจากยาเสพติดแล้วก็จะไม่มีจิตสำนึกในการต้องไปแสวงหาสิ่งเหล่านั้นได้เลย

ในอีกแง่มุมหนึ่งของแนวคิดของอริสโตเติลได้กล่าวว่า

๑. มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่อยู่ร่วมกันในชุมชน : ตามลักษณะธรรมชาติสัตว์ส่วนใหญ่จะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เช่นเดียวกับมนุษย์ ที่บอกว่าจะเป็นมนุษย์เมื่ออยู่กับมนุษย์ ต้องการการอยู่ร่วมกัน

๒.  ชุมชนที่ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของมนุษย์คือรัฐ

๓.  รัฐที่ดีก็ต้องสามารถเสริมสร้างให้มนุษย์มีจิตใจที่ดี และร่างกายแข็งแรง

๔.  คุณธรรมทางปัญญาและทางศีลธรรม

๕.  ปัญญา เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมเกี่ยวกับความดี เพื่อเป้าหมายแห่งความสุขในชีวิต

๖.  ศีลธรรม  เกิดจากกระบวนการอบรม บ่มเพาะให้คนประพฤติดี ปฏิบัติดี

ถ้าจะอธิบายปัญหายาเสพติดที่เกี่ยวกับแนวคิดนี้ก็จะอธิบายว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่อยู่รวมกัน ถ้าชุมชนนั้นพัฒนาโดยการได้รับการสนับสนุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ที่รัฐบาลจะต้องแนะนำเรื่องเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและจัดกระบวนการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยที่รัฐโดย จะต้อง เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับประชาชนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นทางด้านคุณธรรม หรือศีลธรรมที่ดีที่เกี่ยวกับเรื่องของยาเสพติดโทษของยาเสพติดเพื่อให้คนในชุมชนนั้นได้เกิดปัญญาเรียนรู้โดยมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายคือการไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและรัฐจะต้องมีกระบวนการบ่มเพาะความประพฤติ ให้แก่คนในชุมชนให้เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีไม่เกี่ยวข้องและชี้โทษให้เห็นถึงยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นทางด้านของกฎหมายว่าจะได้รับโทษอย่างไรและโทษเกี่ยวกับร่างกายสมองหรือปัญญาจะทำให้เสื่อมลงไปเรื่อยๆซึ่งเมื่อประชาชนในชุมชนหรือประเทศได้รับสิ่งเหล่านี้จากรัฐบาลแล้วเชื่อได้ว่าสังคมไทยประเทศไทยจะต้องห่างไกลจากยาเสพติดและไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้คนในชุมชนยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดอีกอย่างแน่นอน

อีกแนวคิดหนึ่ง อริสโตเติล ถือว่าการศึกษาเป็นกระบวนการที่จะช่วยฝึกฝน ร่างกาย จิตใจ ความคิด และอุปนิสัยของคน เพื่อให้เป็นพลเมืองดี เป็นการเตรียมบุคคลให้รู้จักแสวงหาความสุขด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ความมุ่งหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ทุกคนมี คุณงามความดีและมีความสุข คุณธรรมและความสุขเป็นอุดมการณ์ของการศึกษาของอริสโตเติล ปรัชญาการศึกษาสัจจนิยม จึงยึดโลกทัศน์ที่เรียกว่า “โลกนี้เป็นโลกแห่งวัตถุ” (A World of Things) ความรู้ ความจริง เป็นภาวะของธรรมชาติ การให้มนุษย์เข้าถึงความจริงแห่งธรรมชาติโดยวิธีวิทยาศาสตร์ จึงเป็นจุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษาสาขานี้

ในแนวความคิดนี้เป็นการเน้นเป็นตัวบุคคลซึ่งในตัวบุคคลจะต้องฝึกนิสัยฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็งเมื่อเราฝึกได้อย่างนี้แล้วในการปฏิบัติหรือการรู้เท่าทันสิ่งเสพติดก็จะเกิดขึ้นเพราะเราฝึกจิตใจคนเราให้รู้จักโทษของสิ่งเสพติดเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็จะทำให้กลายเป็นพลเมืองที่ดีเป็นคนดีของสังคมเมื่อมีบุคคลที่ได้ฝึกอย่างนี้แล้วเชื่อได้ว่าในประเทศไทยคงจะไม่มีสิ่งเสพติดเข้ามาในประเทศได้เพราะพลเมืองที่ได้รับปลูกฝังในเรื่องจิตใจจิตสำนึกให้รู้สิ่งที่ดีๆนั้นจะไม่มีความคิดหรือการกระทำที่จะมามุ่งเน้นในสิ่งเสพติดและสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศชาติหรือสังคมชุมชนจะห่างไกลยาเสพติดอย่างแน่นอน

นางสาววาสนา ดวงศรี

ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ(Separation of Powers) ของมองเตสกิเออ เป็นที่รู้จักกันดี และยังถูกนำมาใช้รัฐธรรมนูญเกือบทั่วโลก ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ คือ แนวความคิดในการแบงแยกอํานาจอธิปไตย  ออกเปน ๓ ฝ่าย  ได้แก่  1) ฝ่ายนิติบัญญัติ  มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย  ซึ่งในที่นี่หมายถึงรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) สมาชิกวุฒิสภา(สว.) หรือสภาสูง 2) ฝ่ายบริหาร  มีอำนาจในการจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย  ซึ่งได้แก่  ผู้บริหาร คณะรัฐบาล หรือคณะปกครองพิเศษ เช่น คสช.เป็นต้น และ 3) อำนาจตุลาการ มีอำนาจในการตัดสินใจและการพิพากษาอรรถคดี  ซึ่งองค์กรสำคัญที่ใช้อำนาจตุลาการได้แก่  ศาล  

การได้มาของ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในยุค คสช.

          ในระบบการบริหารของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 นั้น เป็นยุคบริหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และมีการให้สิทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) สามารถโหวดเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562 สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. จึงต้องโหวดเลือกหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ผู้แต่งตั้งนั้น จนกระทั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีในที่สุด

ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีการกุมอำนาจเกิดขึ้นเพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ตามแนวคิดของมองเตสกิเออนั้น มองว่า อำนาจทั้ง 3 อำนาจนี้ควรจะต้องแบ่งแยกออกจากกันเป็นอิสระโดยมีความคิดเห็นว่า “อำนาจเท่านั้นที่จะหยุดยังอำนาจได้” เพราะถึงแม้ว่า ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐจะได้มาจากประชาชนโดยการเลือกตั้งก็ตาม แต่ก็ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าคณะผู้ทำการปกครองประเทศจะไม่หลงอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีการแยกอำนาจดังกล่าวออกจากกัน ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ปกครองประเทศ ซึ่งเป็นคณะบุคคลฝ่ายเดียวใช้อำนาจต่าง ๆ โดยไม่มีขอบเขต

พระสมุห์ศักดิ์ชาย สญฺญจิตฺโต/ช่วงชัยชนะ

           สำหรับประเทศไทยมีการกำหนดแนวนโยบายการจัดการโควิด-19 ตามมาตรการ “การเว้นระยะห่างทางสังคม” ซึ่งถือเป็นความพยายามในการลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสจากคนสู่คนในสังคม โดยมีหลักการที่สำคัญคือการสร้างระยะห่างระหว่างตนเองกับคนอื่นๆ ในสังคม หรือยืน-นั่งห่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร รวมถึงการลดการออกไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ การงดกิจกรรมทางสังคม การเรียนการสอนผ่านทางช่องทางออนไลน์ และการกักกัน หรือทำงานอยู่ที่บ้านให้มากที่สุด ตามนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เป็นต้น

แนวคิดเรื่องกลไกการใช้อำนาจรัฐหรือกลไกรัฐ นับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการสร้างภาวะการครองอำนาจนำให้เกิดข้ึนตามเป้าหมายของกลุ่ม/ชนชั้นผู้พยายามสร้างภาวะการณ์ครองอำนาจนำ ซ่ึงแนวคิดดังกล่าว เปรียบได้กับการทำหน้าเป็นสื่อกลาง เพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์หรือระบบความคิด ความรู้ ความเช่ือ ค่านิยม ชุด ๆ หน่ึง ตามที่รัฐพยายาม สร้างภาวะการครองอำนาจนำ ตัวแสดงหลักอย่างรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีส่วนสำคัญที่ทำให้กลไกแห่งรัฐ ดำเนินไปได้ กล่าวคือ กลไกรัฐทำหน้าที่ในการถ่ายทอดหรือส่งผ่านชุดความคิด จากด้านผู้ท่ีพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำไปยังผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ปัญญาชน นโยบายของพรรคการเมือง/รัฐบาล สื่อมวลชนทุกประเภท สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา ซึ่งรัฐพยายามสร้างภาพให้ตนเองเป็นผู้ท่ีน่าเช่ือถือในภาวะการครองอำนาจนำ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของกลไกอำนาจรัฐนั้น คือ การที่รัฐใช้อำนาจบังคับผ่านตัวบทกฎหมาย ระเบียบข้อตกลง เพื่อบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม โดยที่ประชาชนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

           เมื่อพิจารณาแนวทางปฏิบัติกลับพบว่า การใช้อำนาจนำเป็นการสร้างระยะห่างทางสังคม และระยะห่างทางสังคมดังกล่าวไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ “ระยะห่างทางร่างกาย” หากแต่ยังหมายถึง “การสร้างระยะห่างทางชนชั้นด้วย”ที่ว่าด้วยการกักตัวเองอยู่แต่ภายในบ้านนั้นกลับไม่ได้เอื้อต่อการกักกันโรคสำหรับทุกกลุ่มคน และไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถแบกรับกับสถานการณ์ที่ได้อย่างเทียมกัน โดยเฉพาะกับกรณีผู้ที่มีฐานะยากจน และและกลุ่มคนที่จำเป็นต้องหาเช้ากินค่ำแล้วอย่างกลุ่มผู้ค้าในตลาดสดแล้วด้วย เพียงแค่เอาตัวรอดในหนึ่งวันก็อาจจะเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องดิ้นรนอย่างหนัก การออกไปหารายได้จากนอกบ้านเป็นรายวันคือหนทางเดียวในการใช้ชีวิตอยู่ต่อไปอย่างปลอดภัยต่อปากท้องของตนเองและครอบครัวมากกว่าความปลอดภัยตามความหมายที่กำหนดไว้ในนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายแบบเลือกปฏิบัติ หรือไม่ครอบคลุม ยังเป็นการ “ผลัก” ให้กลุ่มคนดังกล่าวเข้าสู่มุมมืดของ “การกลายเป็นกลุ่มผู้มีสถานะรอง”  ที่ไม่ถูกนับรวมอยู่ในแนวนโยบายการจัดการโรคโควิด-19 ของรัฐไทยอีกด้วย

แนวคิดผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรอง อันโตนิโอ กรัมชี่ ได้กล่าวถึงมโนทัศน์เรื่องชนชั้น และการจัดลำดับทางชนชั้น ของกลุ่มมาร์กซิสต์ดั้งเดิม ซึ่งเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุนคือกลุ่มผู้ปกครอง/กลุ่มผู้ครองอำนาจนำ โดยยึดครองถือครองปัจจัยการผลิต ตามหลักเศรษฐกิจกำหนด ตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม ซึ่งชนชั้นนายทุนได้แสวงหาประโยชน์ กดขี่ และขูดรีด มูลค่าส่วนเกินของชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นกรรมาชีพต้องต่อสู้ด้วยการปฏิวัติทางชนชั้น เพื่อปลดปล่อย และปลดแอกสังคม เพื่อก้าวสู่สังคมคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีชนชั้นในท้ายที่สุด จะเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤตกาลการแพร่เชื้อของไวรัวโควิท-19 รัฐพยายามกดขี่ และขูดรีด จากประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อวัคซีนที่ไม่สมเหตุสมผล และวัคซีนก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากประชาชนต้องการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องลงทุนซื้อวัคซีนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเหมือนซวยซ้ำซ้อน กรัมซี่มองว่ามันเป็นการขูดรีดประชาชน จากชนชั้นปกครองและนายทุนเพื่อแสวงหาประโยชนบนวิกฤตนี้

           กรัมชี่ได้ตีความแนวคิดเรื่อง “ชนชั้น” แบบมาร์กซิสต์ดั้งเดิมในรูปแบบใหม่ โดยกรัมชี่จะใช้วิธีคิดแบบเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด มีลักษณะการมองสังคมที่หยุดนิ่งเกินไป และทัศนะที่เชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นแรงผลัก/ตัวแปรเดียว น่าจะเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องนัก เขาจึงได้พัฒนาต่อยอดจากการกดขี่ และขูดรีดทางเศรษฐกิจออกไป โดยให้ความสำคัญกับการครอบงำทางชนชั้นในมิติของอุดมการณ์ และจิตสำนึก ซึ่งเป็นกระบวนการในสร้างความยินยอมพร้อมใจโดยธรรมชาติให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน กรัมชี ได้อธิบายถึงอำนาจครอบงำของอุดมการณ์ของชนช้ันนำทางสังคมท่ีมีต่อส่วนต่างๆ ของสังคม โดยเขาใช้แนวคิดน้ีอธิบายว่า เหตุใดชนชั้นนายทุนจึงสามารถมี อำนาจในสังคมได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงของระบบทุนนิยมนั้น มิใช่อยู่ที่การใช้ความรุนแรง หรือการบังคับท่ีกลไกของรัฐเป็นฝ่ายกระทำหากอยู่ที่การยอมรับของฝ่ายที่ถูกปกครองในแนวคิดหรือ จิตสำนึกในการอธิบายความเป็นไปของสังคมเป็นปรัชญาของมวลชนผู้ซึ่งยอมรับระบบศีลธรรม ขนบธรรมเนียมและพฤติกรรมในสังคม ประเด็นที่กรัมชีต้องการศึกษาทำความเข้า ใจก็คือ ชนชั้น

           สำหรับกรัมชี่ จะถือครองอำนาจนำ ที่ต้องยึดครอง/บังคับ และกำกับควบคุม ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เหนือกลุ่มผู้ถูกปกครอง หรือผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองให้ได้ ดังนั้น การกลายเป็นผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองจึงมิได้เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ หากแต่ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ภายใต้การสร้างระบบความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับการสถาปนาอำนาจนำ ของกลุ่มผู้ปกครอง โดยมีกลไกของรัฐอยู่เบื้องหลัง และทำหน้าที่ที่สำคัญใน 2 ลักษณะ คือ

1.กลไกการใช้อำนาจบังคับของรัฐ ผ่านแนวคิดที่กรัมชี่เรียกว่า การทำสงครามขับเคลื่อน คือ การใช้อำนาจรัฐที่มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงบังคับ ซึ่งรัฐหรือกลุ่มผู้ดำเนินการสร้างภาวะการครองอำนาจนำจะใช้อำนาจใน 2 ระดับ คือ 1) ระดับของการบังคับโดยตรง หรือ การสั่งการโดยรัฐ และ 2) การใช้อำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย และมีอำนาจบังคับรองรับอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านกลไกการใช้อำนาจบังคับในรูปแบบต่างๆของรัฐ ถึงแม้ว่ากลไกของรัฐจะให้ความรู้สึกเอนเอียงไปในมิติของการกลไกการใช้อำนาจบังคับของรัฐในพื้นที่ของ “สังคมการเมือง” ผ่านการใช้อำนาจทางกฎหมาย แต่การใช้อำนาจบังคับนั้นอาจเป็นไปอย่างชาญฉลาด และแยบยล โดยผสมผสานระหว่างการจูงใจ และการสร้างความยินยอม ผ่านการใช้อำนาจบริหารของรัฐด้วยเช่นกัน

           2.กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ ผ่านการทำสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอุดมการณ์ของรัฐ เพื่อโน้มน้าว และชี้นำความคิด และความเชื่อ โดยวิธีการสร้างความรู้/ความจริงหลักให้เกิดขึ้น และให้ได้รับความนิยมจากประชาชน โดยที่ประชาชนไม่รู้สึกว่าเป็นการบังคับ ซึ่งกลไกนี้จะขับเคลื่อนผ่านการให้ข่าว การสร้างข่าว และการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งรวมถึงการปลุกปั่น และการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น

           ผลของการใช้กลไกของรัฐทั้งสองส่วนดังกล่าวนั้น ด้านหนึ่ง นำมาซึ่งผลประโยชน์ และอำนาจนำของกลุ่มผู้ปกครองในการครอบงำชนชั้นผู้ถูกปกครองของตน ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง กลไกดังกล่าวได้สร้าง “ภาวะการถูกทำให้อยู่ในสถานะรอง” ให้กับกลุ่มผู้ถูกปกครอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การปลูกฝังความรู้ที่ปลอมแปลง” ด้วยการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถวิพากษ์ประวัติศาสตร์เชิงอุดมการณ์ที่ครอบงำตัวเขาเอง รวมถึงการถูกอธิบายและแสดงเหตุผลซึ่งเป็นผลมาจากการตั้งต้นทางประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองความมีอยู่และสถานะทางสังคมของกลุ่มคนเหล่านั้น โดยให้มีลักษณะเป็นกลุ่มคนที่ด้อยกว่าหรือต่ำกว่า และได้รับพิจารณาให้ผนวกรวม หรือคัดออกให้อยู่ในระดับทางสังคมเดียวกันจากกลุ่มชนชั้นนำเพื่อรักษาสถานะของความมีอำนาจนำของกลุ่มผู้ชนชั้นนำเอาไว้

           ในกรณีของรัฐไทยกับโรคโควิด-19 นั้น พบว่า รัฐไทยได้มีความพยายามในการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างเข้มข้นในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของกลไกการใช้อำนาจบังคับของรัฐ อาทิเช่น การประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และการประกาศเคอร์ฟิว หรือห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. การกำหนดนโยบายงดเดินทางข้ามจังหวัด หากไม่มีเหตุจำเป็น ตลอดจนการสั่งการตามมาตรการควบคุมโรคระบาดครอบคลุมในทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากนี้ รัฐไทยยังใช้กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ ที่ว่าด้วยการผลิตสร้างชุดความรู้/ความจริงที่เรียกว่า “การเว้นระยะห่างทางสังคม” ที่โน้มน้าวให้ผู้คนใช้ชีวิตโดยรักษาระยะห่างระหว่างกันมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งการเก็บตัวอยู่ที่บ้าน และไม่ออกเดินทางไปไหนถ้าไม่จำเป็น เพื่อลดการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาด

           ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเรื่องผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองของกรัมซี่แล้ว พบว่า การสร้างระยะห่างทางสังคมดังกล่าวไม่ได้หมายความครอบคลุมเพียงแค่ “ระยะห่างทางร่างกาย” หากแต่ยังเป็น “การสร้างระยะห่างทางชนชั้น” ที่ไม่ได้เอื้อต่อการกักกันโรคสำหรับกลุ่มคนจน นอกจากนี้ยังเป็นการ “ผลัก” ให้กลุ่มคนดังกล่าวกลายเป็นกลุ่มผู้มีสถานะรองจากแนวนโยบายการจัดการโรคโควิด-19 ของรัฐไทยในอีกนัยยะหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การแพร่เชื้อของไวรัสโควิท-19 ในไทยนั้น ประชาชนที่ได้รับเชื้อในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชนชั้นกลางได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ส่วนชนชั้นล่าง บางคนถึงกับต้องนอนรอที่บ้านกว่าจะได้รักษา บางคนรอจนเสียชีวิตก็มี เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการแบ่งมีการรักษาโดยแบ่ง ชนชั้น ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนเตียงไม่พอในการรักษา เป็นต้น

นางณัฐวรี สายบุตร

นักปรัชญาชาวอิตาลี หลักปรัชญาการเมืองของท่าน คือ รัฐเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในตัวเอง การเมืองอนุญาตให้ผู้ปกครองทำได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ

จากสถานการณ์การระบาดจากกลุ่ม (Cluster) ของแรงงานต่างด้าวในกลุ่ม 3 จังหวัดสมุทรที่กล่าวมา หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมโรคกำลังยังอยู่ในช่วงรับมือกับการระบาด ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาการติดเชื้อเพิ่มเติมจากกลุ่มธุรกิจสีเทา คือ บ่อนการพนัน บ่อนชนไก่ (ทั้งรายย่อย รายใหญ่) นักพนันเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระจายทั้งภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด จนต้อง Lock down ในกลุ่มจังหวัดเหล่านี้ ขณะที่บ่อนชนไก่และค่ายซ้อมไก่ชนจังหวัดอ่างทองก็กลายมาเป็นกลุ่ม Cluster ใหม่กระจายการระบาดไปยังภาคกลางตอนบนและกระจายไปสู่ผู้ติดเชื้อรายใหม่ไปอีกหลายจังหวัด ในที่สุดประธาน ศบค. ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องประกาศบังคับใช้มาตราการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดสูงสุดกับ 5 จังหวัดต่อเนื่องกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง และตราด โดยการจำกัดการเข้าออกต้องแสดงเอกสารรับรองเหตุผลความจำเป็นและต้องใช้แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ควบคู่กับแอปพลิเคชันเดิมคือ “ไทยชนะ” โดยการติดเชื้อใหม่ยังพุ่งสูงขึ้นอยู่ทุกวัน

นักปกครองเหมือนสุนัขจิ้งเจ้าเล่ห์ ใช้อำนาจไม่ถูกต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนปกปิดข้อมูลทำให้โรคโควิด-19 รุนแรงขึ้น วัคซีนไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน เกิดจากการบริหารของคณะรัฐบาลชุดนี้ ทำตัวเหมือนเด็กเลี้ยงแกะ สุดท้ายก็ตายทั้งฝูง!!

พระธีระ เมธิโก/แก้วยศ

ขงจื๊อมองการไม่ตรวจหาเชื้อโควิทให้กับแรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศผิดกฏหมายและต้องผลักดันออกไปเพราะจะทำให้การแพร่ระบาดของโควิทเพิ่มมากขึ้น ขงจื้อมองปัญหานี้อย่างใด

          ขงจื๊อกล่าว หลักการมนุษยธรรม ถ้อยทีถ้อยอาศัย หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ขงจื๊อเห็นว่าชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้ อุดมคติทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและศาสนามีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ศีลธรรม โลหิตแห่งชีวิตคือความรัก กระดูกสันหลังของชีวิตคือความตาย การพัฒนาชีวิตต้องพัฒนาไปพร้อมกับคุณธรรมและความรัก ชีวิตจะรุ่งเรืองเมื่อ คุณธรรมรุ่งเรือง ชีวิตจะขยายเมื่อความรักแผ่ขยาย  เพื่อสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงของคนที่ดีต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 และคนจะได้มั่นใจ ว่าพี่น้องต่างด้าวนั้นเป็นผู้ปลอดเชื้อไวรัสโควิด-19ผู้ป่วยไม่ว่าจะสัญชาติใด จะเข้าเมืองถูกกฏหมายหรือไม่ แต่เมื่อเขาทำงานอยู่บ้านเรา เขาก็เป็นมนุษย์ เมื่อเขาป่วยเราก็ต้องรักษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์โควิด การตรวจหาเชื้อในแรงงานต่างด้าวเร็วเท่าไร เท่ากับระงับการระบาดได้เร็ว

พระชีวัน ชินวโร /แสวงสุข

วอล์แตร์มองการอยู่บ้าน เคอร์ฟิวส์ ของประชาชน เพื่อป้องกันโควิท แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาที่เด่นชัดของรัฐบาลต่อผู้ได้รับผลกระทบ ให้อธิบายและวิพากษ์ตามแนวคิดของวอล์แตร์

วอลแตร์”

ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรงทั้งในประเทศเราและต่างประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมประท้วงขับไล่นายกของหลายๆ กลุ่ม หรือวิกฤติของการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด19” ก็ตาม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากมายในโลกอินเตอร์เน็ต เราก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกเดือดร้อนกับสถานการณทางการเมือง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าติดตามสถานการณ์ในประเทศ

หากต้องการรู้ว่าใครปกครองคุณ ให้ดูว่าใครที่ไม่อนุญาตให้คุณวิพากษ์วิจารณ์”

ซึ่งข้อความนี้เป็นคำกล่าวของ”วอลแตร์” นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ร่วมกับนักปรัชญาชื่อดังอีกหลายท่าน สามารถกล่าวได้ว่าวอลแตร์นั้นเป็นบุคคลสำคัญที่นำฝรั่งเศสไปสู่การปฏิวัติจะเห็นได้ว่า แนวคิดของวอลแตร์คือการสนับสนุนเสรีภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันการปกครอง ระบอบอำนาจ จนทำให้เกิดการชุมนุมและการปฏิวัติในเวลาต่อมาซึ่งเมื่อมองกลับมาที่ การเมืองไทยในปัจจุบันอาจจะไม่ตรงกับแนวทางของวอลแตร์นัก เนื่องจากเรายังถูกจำกัดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์อยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็เป็นไปตามบริบทของสังคมไทยที่อาจจะแตกต่างออกไปแต่สุดท้ายแล้ว เราเชื่อว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็นยังคงเป็นของทุกคนสิ่งสำคัญที่คนในสังคมโลกควรจะมีไว้แล้วเตือนตัวเองเสมอ คือ โลกใบนี้ไม่เที่ยง และผู้อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ต้องท่องหนึ่งคำจำ ให้ขึ้นใจไว้เสมอ คือคำ ว่าการปรับตัว หากเรายึดมั่นในคำ นี้จะสามารถยืนหยัดไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดในที่ทุกสถานที่ ในทุกสถานการณ์ทุกเมื่อ เราจะดำรงอยู่อย่างมีสติ พร้อมรับในทุกๆ มิติที่เกิดเหตุการณ์อย่างเช่นทุกวันนี้

การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็ถูกมองว่าเป็นการกระทำแบบมือไม่พายเอาเท้าราน้ำเช่นกัน และมันก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมผู้คนถึงคิดแบบนั้น หลายครั้งที่การวิจารณ์รัฐบาลนั้นไม่ได้อยู่ในรูปแบบติเพื่อก่อ และมันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นผู้นำประเทศไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตามในสถานการณ์แบบนี้ แต่แม้ว่าคนไทยจะรู้สึกหงุดหงิดกับการปฏิบัติงานที่ล่าช้าของรัฐบาลประยุทธ์แค่ไหน ต้องอย่าลืมว่ารัฐบาลประเทศอื่นๆ ก็กำลังตกอยู่ในสถานะเดียวกันมาตรการปิดเมืองกรุงเทพและหลายจังหวัด ในการวางแผนใช้มาตรการฉุกเฉินของรัฐบาลไทยนั้นเป็นสิ่งดีและจำเป็น แต่กระแสรักชาติและการเชื่อฟังรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป แม้ว่าอาจจะฟังไม่เข้าหูกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลมากนัก แต่การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้นไม่หยุดและไม่ควรหยุดแม้ประเทศจะอยู่ในวิกฤต

การรับมือเพื่อเอาชนะกับการระบาดของโรคโควิด19 ได้เห็นอะไรเกิดขึ้นในรัฐบาลยุคปัจจุบัน

           1. เราได้เห็นระบบสาธารณสุขไทยยังไม่มีความพร้อมทั้งการตั้งรับและทำงานเชิงรุกเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ

          2. เราได้เห็นประชาชนมีความสามารถในการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนบทบาทจากเริ่มแรกตื่นกลัวกลายเป็นการตื่นรู้ และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ของตัวเองและของชุมชนในการใช้ยาสมุนไพร

3. การสื่อสารจากคณะรัฐบาลนั้นไร้ประสิทธิภาพและสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนอยู่ไม่น้อย ฉะนั้นการผลักดันให้มีการสื่อสารที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นจะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ และรู้ว่าว่าตนต้องทำอะไรในสถานการณ์เยี่ยงนี้ และกว่าที่รัฐบาลจะตัดสินใจใช้มาตรการฉุกเฉินต่างๆ ที่มีอยู่ในตอนนี้ ประชาชนก็มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้มาตรการเหล่านี้เกิดขึ้น

           4. การกระจายอำนาจไปให้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้บริหารมาตรการต่างๆ นำไปสู่การปฏิบัติที่เพื่อสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ รวมทั้งสามารถระดมความร่วมมือจากประชาชนได้ล้าช้าเกินไป

           5. สังคมได้รู้ว่าความเสี่ยงมีอยู่ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเกิดขึ้นได้กับทุกคน คนรวย คนจน มีโอกาสได้รับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหลากหลาย รุนแรงและไม่ปลอดภัยต่อชีวิต

           6. ปัญหาเรื่องสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งหมด เมื่อเกิดปัญหาโรคระบาดขึ้นจึงกระทบทุกระบบของประเทศ

          7. การแก้ปัญหารวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ ต้องมีการกระจายอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้ประชาชนในพื้นที่ จึงจะสามารถรับมือกับวิกฤตได้อย่างทันท่วงที

          8. สังคมได้เรียนรู้ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้น มีพื้นฐานจากประเทศมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และมีช่องว่างทางความคิด เห็นได้จากคนรวยและคนชั้นกลางในเมืองต้องการนโยบาย Lockdown ที่คุมเข้ม ปิดกิจกรรม ห้ามออกนอกบ้านเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เพราะมีกำลังทางเสรษฐกิจจึงต้องการความปลอดภัย ขณะที่คนยากจนอีกกลุ่มใหญ่เลือกที่จะต้องทำมาหากินไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะอดตายได้ ช่องว่างระหว่างคนสองกลุ่มนี้ชัดเจนและประเทศต้องมีทางออกให้คนทุกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้า

           การระบาดของโรคโควิด19 และขยายเป็นวิกฤตใหญ่ของประเทศ ทำให้ได้เห็นสิ่งดีๆ เชิงระบบที่มีอยู่ในสังคมไทย และคนในสังคมได้เรียนรู้ปัญหามากมาย แม้คนส่วนหนึ่งจะเห็นปัญหาแต่ยังรับกับสภาพปัจจุบันได้เพราะอาจหาทางออกที่ดีให้กับประเทศไม่ได้ แต่เชื่อว่าวิกฤตนี้ได้ปลุกให้ประชาชนกลุ่มใหญ่และคนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตของประเทศจะไม่ยอมทน เพราะพวกเขาได้เรียนรู้และพร้อมมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมกำหนดอนาคตของประเทศ ดังนั้นแนวโน้มสังคมไทยหลังวิกฤตโควิด19 น่าจะมีการพัฒนาหรือปฎิรูประบบต่างๆ ของประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะประชาชนไทยต่างได้รับผลกระทบและเรียนรู้ระหว่างการรับมือกับวิกฤตินี้ร่วมกันอย่างถ้วนหน้า

ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ที่ควรเร่งดำเนินการหลังจากนี้ ก็คือ

1. การเยียวยาให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด ชดเชย ดูแลเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครที่เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด เร็วที่สุด

2. ตรวจสุขภาพให้กับ จนท.ผู้ปฏิบัติงาน อาสาสมัคร และประชาชน ต่อเนื่องทุกๆเดือน

3. ทบทวนและจัดสรรงบประมาณสำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้สอดรับ กับขนาดของชุมชนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งวางระบบในการสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้

4. หากรัฐบาลมีการกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่น ที่มีที่มาจากประชาชน การจัดการสถานการณ์ ก็จะมีความห่วงใยในชีวิตของประชาชนมากกว่านี้ เรื่องนี้จึงเป็นบทเรียน ที่รัฐบาลต้องเร่งนำไปปรับปรุง ให้คำสั่งใดๆ เอาชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญที่สุด และควรกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่นได้แล้ว ระบบรัฐราชการรวมศูนย์ ไม่อาจเข้าถึงการดูแลชีวิตพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

พระอธิการก้าวชัย ปุญญฺกาโม

          บ้านเมืองเราในปัจจุบันนี้ประชาชนมีความหวาดผวาตื่นตระหนกของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด๑๙ จนทำไห้เกิดปัญหาระดับประเทศ ซึ่งแนวทางการควบคุมและการป้องกันการแพร่ระบาลของเชื้อโรคโควิด๑๙ของภาครัฐก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

          การติดเชื้อโควิด๑๙ ในเรือนจำและทัณฑสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ปิดทำไมเชื้อโควิดถึงแพร่ระบาดมากโดยที่นักโทษไม่ได้ออกไปสำผัสกับบุคคลภายนอกเลย

          ตามหลักแนวคิดของนักปรัชญาท่านหนึ่งชื่อ “ซุนวู” ผู้เขียนตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ได้กล่าวไว้ว่า“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” คำนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ และได้ผลจริงมาแล้ว

การรู้เขา เป็นการศึกษาเชื้อโควิด๑๙ว่ามีศักยภาพในการแพร่เชื้ออย่างไร อะไรเป็นตัวพาหะนำโรคและมีวัคซีนป้องกันหรือยาบำบัดรักษาไหม เพื่อที่เราจะได้วางแผนการรับ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หรือต่อสู้ได้อย่างทันทวงที คือการวางแผนและประเมินสถานการณ์ตามหลักยุทธศาสตร์   

การรู้เรา เรือนจำและทัณฑสถาน ต้องรู้ว่า เราเองอยู่ในสถานการณ์เช่นไร ทำอะไรได้แค่ไหน มีข้อควรระวังตัวเองอย่างไร มีอะไรเป็นจุดอ่อนหรือสภาวะเสี่ยงสูงในการรับเชื้ออย่างไร

          เรือนจำและทัณฑสถาน อาจดูเหมือนเป็นพื้นที่ปิด สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินงานราชทัณฑ์ไม่สามารถควบคุมปริมาณบุคคลเข้า-ออกได้ 100% เนื่องจากเป็นปลายทางของกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่สามารถปฏิเสธการรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ และการนำตัวผู้ต้องขังออกศาลได้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเองที่ต้องมีการหมุนเวียนการปฏิบัติงานอยู่ทุกวัน อีกทั้ง สายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ยังมีระยะฟักตัวที่นานขึ้น และไม่แสดงอาการ ทำให้อาจเกิดการเล็ดลอดของเชื้อหลังจากผ่านพ้นระยะกักตัวได้โดยง่าย

          แสดงให้เห็นว่าการที่นักโทษในเรือนจำติดเชื้อ ทางเรือนจำและทัณฑสถาน ขาดการวางแผนและประเมินสถานการณ์ส่งผลให้นักโทษติดเชื้อมาก โดยมีสาเหตุหลายๆอย่างเป็นตัวเชื่อม เช่นขาดมาตรการเพื่อเฝ้าระวังเชื้อจากภายนอก  บุคคลกรเรือนจำและญาตินักโทษขาดระบบป้องกันที่รัดกุมการเข้าออกเรือนจำ นักโทษกับการดูแลและป้องกันตนเอง ความแออัดคับแคบของเรือนจำที่ทำให้การแพร่เชื้อได้รวดเร็ว ตลอดจนการคัดแยกผู้ติดเชื้อทุกรายอย่างรวดเร็วและดำเนินการรักษาอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง รวมถึงการอนุญาตให้หน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบเข้าไปดูแลอีกทางหนึ่ง

         ตอนนี้เราหันมาดูเรือนจำกับ๑๓กลยุทธ์ของซุนวูว่าการที่จะนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ (modification)ใช้อย่างไร”การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย ถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง” คือหนึ่งในคำกล่าวของ ซุนวู เนื้อหาทั้งหมดภายในตำราพิชัยสงครามซุนวู ถูกแบ่งออกเป็น 13 บท โดยแต่ละบทก็จะมีเนื้อหาเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป โดยหลักใหญ่ใจความจะว่าด้วยกลยุทธ์การรบด้วยยุทธวิธีต่างๆ ซึ่งยุทธวิธีเหล่านี้คือหลักการสำคัญที่สามารถนำมาจุดประกายความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง

บทที่ 1 การศึกษาสถานการณ์

         ในบทแรกซุนวูกล่าวไว้ว่าการทำสงครามเป็นเรื่องของความตาย ฉนั้นการต่อสู้กับเชื้อโควิด๑๙ที่แพร่ระบาดก็เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะลงสนามไปรบคือสู้กับโรคต้องศึกษาความเป็นไปให้ดีก่อน ต้องอ่านสถานการณ์ให้ออก ไม่งั้นจะเป็นการไปตายเปล่า เปรียบได้กับการประเมินศักยภาพของเรากับสังคมภายนอกสถาน ดูว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร เมื่อทราบผลการประเมินแล้ว ก็ทำการปรับยุทธศาสตร์ และนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับเรา

บทที่ 2 การทำสงคราม

         ซุนวูกล่าวไว้ว่าการทำสงครามเป็นเรื่องของความสิ้นเปลือง มีแต่เสียกับเสีย ดังนั้นถ้าจะทำสงครามต้องรวบรัด ถ้ายืดเยื้อต้องมีการเตรียมทรัพยากรให้พร้อมไม่งั้นจะลำบากในภายหลัง นั้นก็หมายความว่าการทำสงครามกับโรคมิได้หวังในผลกำไรแต่หวังเพื่อชีวิตที่อยู่รอดสามารถดำรงตนอยู่ในโลกนี้อีกเฮือกหนึ่งเท่านั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านวัสดุยุทโธปกรณ์ในเรื่องการป้องกันตัวแทนการลงทุนแบบธุรกิจนั่นเอง

บทที่ 3 กลยุทธ์

         การทำสงครามสามารถกำหนดแพ้ชนะกันได้ตั้งแต่ยังไม่ลงสนาม โดยดูได้จากการกลยุทธ์หรือการวางแผน โดยกลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือการชนะโดย ไม่ทำสงคราม ข้อนี้หมายความถึงว่าเราเองเรือนจำและทัณฑสถานต้องมีข้อกำหนดหรือข้อตกลงกับหน่วยงานรับผิดชอบด้านควบคุมโรคและผู้ที่ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงว่าห้ามละเมิดข้อปฏิบัติการควบคุมโรคของสถานที่นั้นๆนั่นเอง แม้จะฟังดูเป็นไปได้ยากแต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำกันได้

บทที่ 4 การวางตัวอยู่เหนือศัตรู

         หนึ่งในกลยุทธ์การทำสงครามที่ซุนวูกล่าวไว้อย่างได้น่าสนใจก็คือการแสร้งวางตัวอยู่เหนือศัตรู ต่อให้เหนือกว่าหรือไม่เหนือกว่า ก็ต้องทำให้ตัวให้เรามีอำนาจศัตรูจะไม่กล้าเปิดศึกด้วย นั้นก็คือเราต้องมองหาหลักการวางตัวเอง(ควบคุม)ว่าเรามีศักยภาพสามารถช่วยเหลือป้องกันตัวเองได้มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการป้องกันโรคแบบหลากหลาย อย่างไรเพื่อให้เกิดศักยภาพในการป้องกันและรักษาตนเองที่เหนือกว่าสังคมภายนอก

บทที่ 5 การจัดทัพ

         การจัดทัพเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ แม่ทัพควรอยู่ในจุดสูงสุด คอยบัญชาการ ไม่ลงไปช่วยในทุกการรบ ทหารทุกหน่วยสามารถทำการรบเหมือนกันได้หมด คือการสร้างความเข้มแข็งในเรือนจำและทัณฑสถาน โดยผู้นำต้องมีคุณสมบัติ มีจิตใจดี๑ มีความมั่นคง๑ (Kind but firm) เปรียบได้กับการสร้างองค์กรให้มีความแข็งแกร่งในทุกระดับ ผู้บริหารแข็งแกร่งลูกน้องก็ต้องแข็งแกร่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกอบรม การพัฒนาคนภายในองค์กรทำงานแทนกันได้

บทที่ 6 การใช้จุดอ่อน จุดแข็ง

         หลักการสงครามของซุนวูกล่าวไว้ว่าผู้จู่โจมก่อนคือผู้ชิงความได้เปรียบมาไว้ในกำมือ และถ้าอยากชนะสงครามต้องอ่านจุดอ่อนจุดแข็งของตนเองและศัตรูให้ออก คือมีความว่องไวในการคาดคะเนสถานการณ์อันจะมาถึงในไม่ช้าเพื่อการต่อต้านและยับยั้งอันได้แก่กลุ่มเสี่ยงข้างนอกที่จะเข้าไม่ว่าจะเป็นนักโทษหรือผู้มาเยี่ยมเยือนตลอดจนผู้นำผู้ควบคุมที่เข้า-ออก เปรียบได้กับการทำการตลาดที่ต้องรุกให้ไว อย่ารอช้าจนตลาดวาย น้ำขึ้นให้รีบตัก ศึกษาตามเก็บข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามให้ดีที่สุดเพื่อคอยสังเกตจุดอ่อน เวลาทำการรุก จะได้โจมตีถูกเป้าหมาย ชัยชนะก็จะเกิดง่ายขึ้น

บทที่ 7 การพลิกแพลง

         สิ่งที่ยากที่สุดในการทำสงครามก็คือการพลิกสถานการณ์ เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นรองพลิกแพลงจนนำไปสู่ชัยชนะ คือสามารถพลิกแพลงภาวะการณ์ในเรือนจำและทัณฑสถานไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดำรงชีวิตของนักโทษ การทำกิจกรรมต่างๆอันเป็นการเสี่ยงต่อการรับเชื้อ สามารถพลิกแพลงได้หลายรูปแบบ มีแผนหนึ่งอาจยังไม่พอ ต้องมีแผนสอง แผนสามตามมา สลับสับเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรเป็นข้อดีและข้อเสียถาวร

บทที่ 8 การเลือกกลยุทธ์

         หัวเคลื่อนแบบไหนหางก็เคลื่อนแบบนั้น นี่คือหัวใจหลักในการกำหนดกลยุทธ์ คือการเจริญรอยตามแนวทางของผู้นำหลักการข้อกำหนดของเรือนจำและทัณฑสถาน้วลูกน้องต้องยึดถือและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด “ลูกน้องย่อมเดินตามแม่ทัพผู้วางยุทธศาสตร์ ถ้าล้มก็ล้มไปด้วยกันทั้งขบวน” กลยุทธ์จึงเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือผู้กำหนดกลยุทธ์ ซุนวูกล่าวไว้ว่าผู้ที่เชี่ยวชาญในการกำหนดกลยุทธ์จะต้องไม่มี 5 พฤติกรรมเหล่านี้ ด่วนตัดสินใจ ขี้กลัว ใช้แต่อารมณ์ เย่อหยิ่ง และ ใจอ่อน

บทที่ 9 การเดินทัพ

         หลักสำคัญในการเดินทัพก็คือการสังเกตสภาพการรอบข้าง เมื่อจะยกทัพข้ามเขาจะต้องเดินใกล้หุบเขาที่มีแหล่งน้ำและหญ้า เมื่อจะยกทัพผ่านเขตหนองบึงต้องรีบผ่านไปโดยเร็ว เรืองนี้มองดูอาจไม่สำคัญหมายถึงการมองหาที่อันสมควรและเหมาะสมเมื่อนักโทษหรือผู้เกี่ยวข้องในเรือนจำและทัณฑสถานมีการติดเกิดขึ้นรีบเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูงพร้อมทั้งมีความเครื่องมืออำนวยสะดวกสะบาย เปรียบได้กับการรู้จักพื้นที่ รู้จักสภาพรอบด้านในทิศทางที่เราจะมุ่งไปข้างหน้า หนองน้ำคืออุปสรรคทำให้เราก้าวไปได้ช้า เราจึงต้องรีบก้าวผ่าน การทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ทิศทางที่มีอุปสรรคต้องรีบแก้ไข ผ่านไปให้ไวที่สุด

บทที่ 10 ภูมิประเทศ ชัยภูมิ         ลักษณะภูมิประเทศของซุนวูมีด้วยกัน 6 ลักษณะ ความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับการสภาพภูมิประเทศ คือเรือนจำและทัณฑสถานเป็นสถานที่ปิดมีกฎระเบียบใช้ควบคุมความประพฤติของนักโทษถือว่าได้เปรียบกว่าสาธารณะชุมชนข้างนอกมาก จึงทำให้ง่ายต่อการควบคุมการแพร่ของเชื้อโรคซึ่งสามารถกำหนดบริบทการปรับทิศทางแนวทางในการดำเนินกิกรรมภายในร่วมกันได้ง่าย เปรียบได้กับการกำหนด Location พื้นที่ของธุรกิจ พื้นที่ดีย่อมหนุนนำให้ธุรกิจไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจร้านค้าหรือร้านอาหาร Location เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมไปถึงเรื่องของ Position การวางตำแหน่งสินค้าก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

บทที่ 11 พื้นที่ 9 ลักษณะ

         พื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารของซุนวูแบ่งเป็น 9 ประเภท แต่ละพื้นที่ก็มีความต่างในวิธีการรบที่ต่างกันออกไป ในเรือนจำและทัณฑสถานก็เช่นกันเพราะสถานที่กักกันนักโทษมีทุกจังหวัดทั่วประเทศแต่ละที่แตกต่างกันด้านสถานที่แต่ความมีกฎระเบียบวินัยของควบคุมนักโทษคล้ายกัน ซึ่งแต่ละสถานที่กักกันควรปรับปรับพื้นที่ให้เข้ากับสถานการณ์สมเหตุสมผลและนำมาซึ่งผลดีในทางบวกขององค์กร ดูได้จากนโยบายให้เตรียมความพร้อมรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

          ที่ประชุมศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมราชทัณฑ์ (ศบค.รท.) ที่ผ่านมาโดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ได้มีนโยบายให้เตรียมความพร้อมรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อธิบดีราชทัณฑ์

ในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง เร่งดำเนินการ ดังนี้

-จัดพื้นที่จัดทำโรงพยาบาลสนามในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง พร้อมให้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขพื้นที่ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานในการเตรียมรองรับกรณีมีผู้ติดเชื้อได้ทันที

-ให้เรือนจำและทัณฑสถาน ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประจำเรือนจำทัณฑสถานทุกแห่ง

-เร่งคัดกรอง และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในผู้ต้องขัง หากพบเชื้อให้ X-ray ปอดทุกราย รวมถึงให้ยา และรักษาให้เร็ว เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง

-ใส่คลอรีนผสมในน้ำสำหรับอาบของผู้ต้องขังในเรือนจำทัณฑสถานทุกแห่ง

-เรือนจำทัณฑสถานที่มีการพบเชื้อให้เร่งตรวจหาเชื้อในเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง

ทุกรายจนครบ 100% ส่วนเรือนจำที่ยังไม่พบเชื้อให้สุ่มตรวจเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการไข้ และไอ

-กรณีมีการปล่อยตัวผู้ต้องขังที่มีการติดเชื้อ ก่อนการปล่อยตัวต้องรีบประสานสำนักงานสาธารณสุขพื้นที่ในการส่งต่อผู้ต้องขังไปยังพื้นที่ที่สาธารณสุขกำหนดโดยด่วน

บทที่ 12 การใช้ไฟ

         ไฟคือสิ่งอันตราย การใช้ไฟคือความเสี่ยงในการใช้กลยุทธ์ แต่ถ้าทำสำเร็จไฟก็จะให้คุณ ตอบแทนเราได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องเผชิญจากการใช้ไฟ คือการใช้กลยุทธ์เอาเชื้อเข้ามาในสถานที่ อย่าพึ่งคิดว่าจะมาแพร่เชื้อเพิ่ม แต่จะเป็นการให้ประสบการณ์ความรู้ที่เป็นสถานการณ์สร้างขึ้นจริง โดยกรณีพบผู้ติดเชื้อในเรือนจำและทัณฑสถานเมื่อตรวจพบและได้ทำการบัดบัดรักษาควบคุมเป็นอย่างดีทำให้สถานการณ์การติดเชื้อเริ่มคลี่คลายและดีขึ้นเรื่อยๆจากการแถลงข่าวของกรมราชทัณฑ์

         เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.64 นายอายุต สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถาน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 16.00 นาฬิกา) มีผู้ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 140 ราย รักษาหายวันนี้ 966 ราย ทำให้มีผู้ต้องขังติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณท์ 5,976 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

          โดยสถานการณ์ในวันนี้ ยังคงมีเรือนจำ/ทัณฑสถานที่เป็นเรือนจำสีขาว ไม่พบการระบาด และเรือนจำสีแดงที่พบการระบาด มีเรือนจำที่พ้นระยะสีแดง รอการปรับสถานะ 2 แห่ง คือ เรือนจำกลางเซียงใหม่ และเรือนจำจังหวัดนราธิวาส

          ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันนี้เป็นการตรวจพบเชื้อจากผู้ต้องขังในแดนจากเรือนจำสีแดง 134 ราย และในห้องแยกกักโรค 6 ราย จากเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี 3 ราย และเรือนจำอำเภอธัญบุรี เรือนจำกลางสมุทรปราการ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครแห่งละ 1 ราย ซึ่งจะพบว่าเรือนจำสีแดงที่พบการแพร่ระบาดส่วนใหญ่มีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อลดลง ขณะที่พบจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายสะสม 29,166 ราย หรือ 82% ของจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งหมด

          แสดงให้เห็นว่าการพบผู้ติดเชื้อในเรือนจำและทัณฑสถานเป็นผลดีในเชิงยุทธศาสตร์ “การใช้ไฟ”เพราะผลที่ตามมาคือมีจำนวยผู้ป่วยหรือผู้ที่ติดเชื้อลดลง ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อเสี่ยงที่จะรับและแก้ไขผลที่ได้รับก็ออกมาดีและเป็นคุณประโยชน์แก่เรา

บทที่ 13 การใช้สายลับ

         สายลับในความหมายของซูนวูคือผู้ให้ข่าวสารข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ทำให้เรารู้สภาพของข้าศึก และนำมาปรับใช้ในการดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างถูกวิธี คือการที่ทางเรือนจำและทัณฑสถานได้ส่งบุคลากรไปศึกษาเรียนรู้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด๑๙พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติป้องกันแล้วนำมาอบรมให้ความรู้แก่นักโทษและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรือนจำและทัณฑสถานอีกทางหนึ่งไม่มัวแต่มารอเจ้าหน้าที่จากทางภาครัฐเข้ามาให้ความรู้ เปรียบได้กับ การแฝงตัวเข้าไปล่วงความลับในการทำธุรกิจของคู่แข่ง รู้ว่าเค้าทำอะไรอยู่ รู้เค้ารู้เรา แม้จะฟังดูเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างขี้โกง แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการใช้กลยุทธ์แบบนี้ไม่มีอยู่จริง อาจจะแค่เปลี่ยนจากรูปแบบจากสายลับไปเป็น Hacker เท่านั้นเอง

พระประวิทย์ ฉายา ปวิชฺชญฺญู นามสกุล ผลจันทร์

นโยบายการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ เรอเน เดการ์ต ส่งผลอย่างไรต่อประชาชน

      ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ปัจจุบันยังไม่มีท่าทีที่จะดีขึ้น อีกทั้งยังมีไวรัสกลายพันธุ์ จนวัคซีนปัจจุบันอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการต้านทานโรค ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเริ่มแตะนิวไฮบ่อยขึ้น ทำให้ระบบสาธารณสุขกำลังเข้าขั้นวิกฤต นอกจากนี้ ผลพวงจากสถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อปากท้องของคนอีกหลายชีวิต หลายอาชีพ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ ลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม และลดภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาวงเงินรวม 4.2 หมื่นล้านบาท ตามที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเสนอ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ ลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม และลดภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาวงเงินรวม 4.2 หมื่นล้านบาท ตามที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเสนอ

      กรณีนโยบายการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์จะส่งผลอย่างไรต่อประชาชน ในแนวคิดของ เรอเน เดการ์ต เป็นนักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในต้นยุคสมัยใหม่ของอารยธรรมตะวันตก ว่า  รัฐบาลควรค้นหาและสร้างความเชื่อถือ ในเรื่องของนโยบายการเยี่ยวยา แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงเข้มนี้ ดั่งเช่น เดการ์ตที่พยายามหากลุ่มของหลักการที่สามารถเชื่อถือ โดยปราศจากข้อสงสัย เขาได้ใช้วิธีการที่เรียกว่า กังขาคติเชิงวิธีวิทยา กล่าวคือ เขาจะสงสัยกับทุก ๆ ความคิดที่สามารถจะสงสัยได้  และโดยใช่หลักในการหาความจริงไว้ว่า

1. จะต้องไม่รับว่าอะไรเป็นความจริงจนกว่าเราจะเห็นประจักษ์ด้วยตนเองว่าเป็นเช่นนั้น

2. จะต้องวิเคราะห์แยกแยะความรู้ของเราออกไป

3. จะต้องใช้ความคิดให้เข้าหลักตรรกวิทยา

4. จะต้องพิจารณาผลที่เราคิดได้

      ถ้ารัฐบาลค้นหาความจริงในนโยบายการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ และแสดงให้เห็นถึงความหน้าเชื่อถือ ให้แก่ประชาชนได้รับการเยียวยา ย่อมเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลผลต่อการเยียวยาในการล็อกดาวน์ และการบริหารจัดการของภาครัฐ  ตรงกันข้ามถ้ารัฐบาลไม่ค้นหาความจริงในนโยบายการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ และไม่แสดงให้เห็นถึงความหน้าเชื่อถือ ให้แก่ประชาชนได้รับการเยียวยา ประชาชนย่อมหมดศรัทธาในการบริหารของคณะรัฐบารที่บริหารประเทศ เช่นตัวอย่างในความหนึ่งที่นักข่าวรายงานข่าวประชาชนผู้ถูกล็อกดาวน์ในเขตพื้นที่สีแดงเข็ม ว่า “ขณะที่ผู้ประกอบการบางราย เห็นว่ามาตรการที่ออกมายังไม่มีความชัดเจน เช่น การลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ และมีเงื่อนไขการลดอย่างไร ผู้ประกอบการจะได้รับการลดด้วยหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ประชาหลายคนเห็นตรงกันว่า มาตรการที่ออกมาในครั้งนี้อาจจะช่วยได้ในระยะสั้น รัฐต้องเร่งควบคุมการระบาดและฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพให้กับประชาชนโดยเร็ว”

ศิริลักษณ์ เติมกล้า

นโยบายการฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อป้องกันโควิดในมุมมองเล่าจื้อ เป็นอย่างไรจงอธิบาย

ในมุมมองของเล่าจื๊อเกี่ยวกับนโยบายการฉีดวัคซีนเข็มสามเพื่อป้องกันโควิด นั้น เล่าจื๊อจะเล็งเห็นว่า ปัญหาของมนุษย์นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการตั้งกฎกติกามาบังคับใช้ได้ เช่นเดียวกันกับการฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งนโยบายของรัฐบาลโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะฉีดวัคซีนให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ ที่มีความประสงค์จะฉีด มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้าม จะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคนโดยความสมัครใจ และในการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศ (Herd immunity) ต้องฉีดครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากร  ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่สมัครใจที่จะฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันมากขึ้น ถึงแม้การฉีดวัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ 100 % ก็ตาม ซึ่งวัคซีนแต่ละตัวจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป

การกลายพันธ์ของเชื้อไวรัส ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ฉะนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโดยตรงมีความเสี่ยงสูงก่อน แล้วรัฐบาลค่อยพิจารณาให้ประชาชนฉีดเข็มที่ 3 ต่อไป

ดังนั้น นโยบายในการฉีดวัคซีน ในมุมมองของเล่าจื๊อเห็นว่า รัฐบาลปฏิบัติตามหน้าที่ตามเงื่อนไขในการคุ้มครองสิทธิ หน้าที่ตามสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ  แม้ผลของการดำเนินการจะบรรลุเป้าหรือไม่ ความปลอดภัยจะมีหรือไม่ เป็นสิ่งประชาชนพึงได้รับ

นายปิยวัฒน์ คงทรัพย์

จากข่าวถึงกรณี…คำถาม   โรรองส์ บาตส์ มอง ข้าวล้านกล่องใน 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อค ดาวส์ จากท่านรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณ สำหรับผู้เดือดร้อนอย่างไร

ต่อกรณีคำถามดังกล่าว วิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎี โรรองส์ บาตส์  ได้ดังต่อไปนี้

  1. จากกรณี…… ข้าวล้านกล่องใน 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อค ดาวส์ จากท่านรอง

นายกรัฐมนตรีประวิตร วงศ์สุวรรณ สำหรับผู้เดือดร้อน

2.  ข้อเท็จจริง….วันที่ 12 ก.ค. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ประกาศคำสั่งยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 นั้น ตนเองมีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการ พปชร. ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินสถานการณ์โควิด 19 (ศปฉ.พปชร.) ดำเนินการจัดตั้งโครงการ “ข้าวล้านกล่อง” ขึ้นมา เพื่อนำไปมอบให้ประชาชนในชุมชน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน โดยให้เริ่มจากวันนี้เป็นต้นไป

ด้าน ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าวว่า ที่ผ่านมา ศูนย์ ศปฉ.พปชร. ได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในด้านการลดค่าครองชีพโดยการจัดถุงยังชีพ เพื่อแจกจ่ายให้ครอบคลุมในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ภายใต้การประสานงานของศูนย์ประสานงานพรรคในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ หากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถแจ้งความประสงค์มาที่ ศปฉ.พปชร. ผ่านสายด่วน Call Center 02-939-1111 จำนวน 30 คู่สาย หรือ Inbox มาในเพจ Facebook ของพรรคได้ที่ https://www.facebook.com/PPRPThailand/ ซึ่งทางพรรค พร้อมดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

   จากข้อเท็จจริงดังกล่าว…..วิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎี ของ Roland Barthes (โรรองส์ บาตส์) 
ซึ่งได้กล่าวถึง ที่เกี่ยวข้องกับความหมายของสัญญะ 2 ระดับ  ได้แก่

 1) Denotation เป็นระดับความหมายตรง ที่ถูกสร้างขั้นมาอย่างเป็นภววิสัย (objective) เป็นความหมายที่ผู้ใช้เข้าใจตามตัวอักษร และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปตามข้อตกลงที่กำหนดขึ้นมา

 2) Connotation เป็นระดับดับความหมายแฝง ที่เกิดขึ้นจากการตีความโดยโดยอัตวิสัย (Subjective)ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิตหรือบริบททางสังคมวัฒนธรรมหนึ่ง

 จากผลงานที่ชื่อว่า “มายาคติ”( Mythologies) Barthes ได้นำเสนอความคิดเรื่องมายาคติ (Myth) ซึ่ง

ได้นิยามว่า  หมายถึง การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ Barthes เห็นว่า สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราในสังคมนั้นล้วนเป็นสัญญะ มีระบบวัฒนธรรม เป็นรหัสหรือกฎเกณฑ์ในการสร้างความหมายของสัญญะ

          แต่ด้วยความเคยชินหรือการอำพรางของวัฒนธรรม เราจึงมองข้ามหรือมองไม่เห็นความหมาย
ในระดับสรรพสิ่งต่าง ๆ มีฐานะเป็นสัญญะหรือถูกทำให้กลายเป็นสัญญะ และมีบทบาทหน้าที่ในเชิงสัญญะ
(sign-function) ไปมองเห็น ความหมายของสรรพสิ่งน้ันเป็นเรื่องของธรรมชาติธรรมดาหรือเป็นเพียงสิ่งของ
เพื่อการใช้สอย เท่านั้น

              Barthes เรียกกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ลดทอน ปกปิด อำพราง บิดเบือนฐานะ การเป็นสัญญะของสรรพสิ่งในสังคมใหก้ลายเป็นเรื่องของธรรมชาติเป็นสิ่งปกติธรรมดา หรือเป็น สิ่งที่มีบทบาท/หน้าที่ในเชิงใช้สอยแคบ ๆ ในสังคมว่า “กระบวนการสร้างมายาคติ” และเรียกสิ่งที่เป็นผลลัพธ์หรือผลผลิตของกระบวนการนั้นว่า “มายาคติ” (myth/alibi/doxa) หรือความคิด/ความเชื่อ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับโดยไม่ตั้งคำถามและเป็นความคิดความเชื่อที่สอดรับกับระบบอำนาจที่ดำรงอยู่ในสังคมในขณะนั้น

จากนิยามของ Barthes “มายาคติ” (Myth)  ว่าเป็น วิธีคิด ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ และวิธีการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม ของแต่ละสังคม ที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง… แต่กรณี…ข้าวล้านกล่อง
ใน 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อค ดาวส์ จากท่านรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงษ์สุวรรณ
สำหรับผู้เดือดร้อนนั้น

– หากวิเคราะห์ในมุมมอง Denotation ที่เป็นระดับความหมายตรง ที่ถูกสร้างขั้นมาอย่างเป็นภววิสัย (objective) เป็นความหมายที่ผู้ใช้เข้าใจตามตัวอักษร และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปตามข้อตกลงที่กำหนดขึ้นมา……. ทำให้เห็นเสมือนประหนึ่งว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้ใหญ่ใจดี มีจิตใจเมตตา มีอุดมการณ์ บำบัดทุกข์บำรุงสุข เกื้อกูลต่อประชาชนในฐานะที่ตนเป็นกลุ่มชนระดับผู้นำของประเทศ

– หากวิเคราะห์ในมุมมอง Connotation ที่เป็นระดับดับความหมายแฝง อันเกิดขึ้นจากการตีความโดยโดยอัตวิสัย (Subjective) ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิตหรือบริบททางสังคมวัฒนธรรมหนึ่ง…..โดยสถานะตัวบุคคล….พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ์ ในฐานะนักการเมือง เป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคได้อำนาจโดยก่อกำเนิดเกิดขึ้นมาเป็นรัฐบาลปัจจุบัน ที่สืบทอดอำนาจมาจาก คสช. บริหารประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มีบทบัญญัติให้ปฏิรูปประเทศทุกด้าน ทั้งการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และกระบวนการยุติธรรม (รวมทั้งตำรวจ) ให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 1 ปี หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญบัดนี้ผ่านมาแล้วกว่า 4 ปี ส่วนใหญ่มีแต่พิธีกรรมนายกรัฐมนตรีชอบบริหารประเทศด้วยการประกาศเป็น “วาระแห่งชาติ” แต่ยังไม่มีปฏิรูปอะไรที่เป็นรูปธรรม เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ประกาศ “วาระแห่งชาติ” ว่าด้วยการปราบปรามการทุจริต และการเร่งรัดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน แต่วัคซีนกลับกลายเป็นปัญหา ทั้งด้านความล่าช้า ไม่เพียงพอทั้งคุณภาพปริมาณ แม้แต่ความโปร่งใส

เป็นรัฐบาลที่ไม่เคยพูดถึงการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นการปกครองของประชาชน
โดยประชาชน และเพื่อประชาชน นายกรัฐมนตรีเคยพูดถึงการบริหารประเทศ ตามหลักธรรมาภิบาล แต่ไม่เป็นจริงในภาคปฏิบัติ กฎหมายที่รัฐบาลชอบที่สุดไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แต่คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ทำให้นายกรัฐมนตรี
กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ไม่สำเร็จในเชิงบริหาร

จากวิกฤติต่าง ๆ ที่รุมเร้า พร้อมกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทุกสารทิศ ว่ารัฐบาลไร้ความสามารถ และล้มเหลวในการแก้ไขและเตือนว่าประเทศกำลังจะกลายเป็น “รัฐที่ล้มเหลว” พัฒนาการในเชิงบริหารของทีม ศบค.

ที่รัฐจัดตั้งขึ้นและรวมศูนย์อำนาจไว้ ก็ชักช้ากว่าพัฒนาการลุกลามเชื้อไวรัสมรณะ แบบที่ผู้นำประกาศปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง โดยไม่มีการบล็อก กักบริเวณกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ออกนอกพื้นที่ให้ดีก่อนในภาวะหมอใหญ่โรงพยาบาลหลัก รามา ศิริราช จุฬาฯ ส่งสัญญาณคนไข้ล้นมือรับไม่ไหว การบริหารจัดการสงครามโควิด ใกล้หมดสภาพ

ฝีมือและมันสมองเชิงบริหารของทีม 3 ป. (พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล เป็น ป.หนึ่งในสาม ป.ที่ถูกกล่าวขาน) ฝ่ายเกมคุมอำนาจ ผลงานการบริหารกลียุค โรคระบาด ก่อเกิดสถานการณ์ประเทศไทยแซงมหาอำนาจโลก จากตัวเลขติดเชื้อสะสมสูงกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ ล่าสุดอัตราคนติดเชื้อเทียบกับประชากรก็สูงกว่าประเทศอินเดียเคลียร์โจทย์ยากไม่ออก
นั่นไม่ต้องพูดถึงการประคองเศรษฐกิจปากเหวที่นักลงทุนเก็บกระเป๋าหนี เงื่อนไขสถานการณ์โควิดล้อมเมือง
ตึงเครียด บรรยากาศซีเรียส แบบที่ผู้นำมุกแป้ก โชว์ตลก(นะจ๊ะ)ผิดคิว โดนด่าหัวเราะ ในท่ามกลางคราบน้ำตาประชาชน 

ล๊อคดาวน์ ได้ไม่กี่วัน….ก็แสดง Power ดำเนินการจัดตั้งโครงการ “ข้าวล้านกล่อง” ขึ้นมา เพื่อนำไปมอบให้ประชาชนในชุมชน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน“ข้าวล้านกล่อง” โครงการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน ในสถานการณ์โควิด-19
ของพรรคพลังประชารัฐ เป็นข่าวในสื่อออนไลน์ตอนบ่ายวันที่ 12 ก.ค.2564 หลังแกนนำพรรคหายเงียบกันพักใหญ่…..
   

 ปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงแค่เปิดพื้นที่เสนอชุดความคิดในการรับมือมหาวิกฤติโควิด การดังกล่าว คาดว่าจะสงผลดี เรียกคะแนนนิยมกลับคืนได้บ้าง แต่เป็นตาลปัดกลับด้าน….กลายเป็นเดลต้าอาละวาด วัคซีนอยู่ไหน “ประวิตร” ในสถานการณ์ตั้งรับ ทำได้เพียงบรรเทาทุกข์ “ข้าวล้านกล่อง” ประเด็นที่โลกออนไลน์รวมถึงประชาชนต่างพูดถึงกันเป็นอย่างมากหลังจาก “บิ๊กป้อม”  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้เริ่มโครงการ “ข้าวล้านกล่อง” เตรียมยกทีม “พลังประชารัฐ” มอบข้าวกล่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนใน พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด(โดยให้เริ่มจากวันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป) ซึ่งแน่อนว่าผู้คนทั้งหลายต่างออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็น”ข้าวล้านกล่อง” แจก 10 จังหวัดแดงเข้ม บรรเทาความเดือดร้อน

โดยระบุข้อความว่า… ขอเป็น วัคซีนดีๆ แทนได้ไหมครับ วัคซีนที่ดีคือ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ใช่แค่วัคซีนที่ได้เร็ว นะครับ การทำบุญการบริจาคเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่หากคิดเพียงทำบุญบริจาค โดยไม่คิดแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างจริง ๆ มันจะไม่ต่างจาก”การสำเร็จความใคร่ ทางศีลธรรม” เลยครับ

กรณี ข้าวล้านกล่องใน 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อค ดาวส์ จากท่านรองนายกรัฐมนตรีประวิตร วงศ์สุวรรณ สำหรับผู้เดือดร้อนนั้น เมื่อวิเคราะห์วิเคราะห์จากแนวคิดเรื่อง ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ หรือ Postmodernism โดยวิเคราะห์ให้เห็นถึงอิทธิพลของการใช้สัญญะ  (Sign) ต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในแทบจะทุกสิ่งรอบตัวเรา เป็น วิธีคิด ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ และวิธีการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม ให้กลายมาเป็น
เบ้าหลอมพฤติกรรมและวิธีคิดของโดยที่ไม่รู้ตัว จนเรารู้สึกว่าสิ่งที่สัญญะเหล่านี้ชักจูงเรา ใช้เราเป็นร่างทรงของมันนั้นกลายเป็น ‘ความปกติ’ ของสังคมไป และความปกติที่เกิดจากการโดนสัญญะชักจูงไปนี้เอง คือสิ่งที่ Barthes เรียกว่า ‘มายาคติ’ นั่นเอง 

          การนำแนวคิดมายาคติมาวิเคราะห์อาจทำให้เห็นระบบความคิดความเชื่อที่ผู้คนมีต่อความเป็นจริงในโลกและเป็นกุญแจสำคัญสำหรับไขปัญหาที่ว่า ความเป็นจริงในสังคม แม้ว่าเรื่องราวที่ปรากฏในข่าวจะมีความสมจริงตามที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนแล้ว และมีคติความเชื่อรองรับความเป็นไปได้ แต่องค์ประกอบบางอย่างในเรื่องก็ไม่สามารถอธิบายได้หมดทุกกรณี และสิ่งที่สำคัญได้กลับมาหาคติความเชื่อที่ไหลเวียนในสังคมไทย.. พฤติกรรมส่อเจตนา…ทำเห็นให้ว่า “มีพฤติกรรมหลายอย่างในรัฐบาล ที่ไม่สามารถเชื่อถือได้อีกต่อไป” 

         โดยที่กลไกการทำงาน “ที่ควรจะเป็น” ของหน่วยต่าง ๆ ในสังคมที่มันกำหนดกรอบและสร้างวิธีคิดให้กับเรา ก่อนที่เราจะมีโอกาสได้จินตนาการหรือตกผลึกทางความคิดของตัวเองเสียอีก เราถูกสอนให้เป็นสมาชิกของสังคม และเข้าเป็นสมาชิกของสังคมและระเบียบโลก ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้ตัวว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่ว่าไปภายใต้อำนาจของโครงสร้าง คำชักจูงของสัญญะอยู่ว่า “อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ควรจะเป็น”

        กรณีข้าวล้านกล่องที่ควรจะเป็น ความต้องการอย่างเร่งด่วนของประชาชนไทยในเวลานี้คือ วัคซีนป้องกันโควิดยี่ห้อดี ๆ มีมาตรฐาน ปีที่แล้ว คนไทยจำนวนหนึ่งอาจไม่สนใจเรื่องการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดมากนัก แต่นาทีนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดล้นโรงพยาบาลและมีผู้เสียชีวิตทุกวัน  ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ไม่ว่าพลังประชารัฐ,ภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์ ต่างก็เจอคำถามจากชาวบ้าน “เมื่อไหร่จะได้ฉีดวัคซีน?” มิใช่ข้าวล้านกล่อง…..เพราะโดยสภาพความเสียหายหนักจากโรคระบาด ผู้นำมีอำนาจแต่ไร้ศรัทธาจากประชาชน รัฐบาลหมดเครดิต ขาดความเชื่อมั่นในการนำประเทศฝ่าวิกฤติ ทำอะไรก็ผิดในสายตาสังคม บริหารโควิดผิดพลาด เลินเล่อ ทำคนเสียชีวิตจากวิกฤติโควิดจำนวนมาก

เรื่องมายาคติ ที่บ่งชี้หรือแสดงให้เห็นในสังคม ในความสลับซับซ้อนและการสร้างความจริง ความน่าเชื่อถือและสิทธิในการดำรงอยู่ของมัน  มายาคติ จึงเป็นผลผลิตลำดับที่สองที่เกิดขึ้นจากสัญญะก่อนหน้านั้น  โดย โรล็องด์  บาร์ตส์ (Roland Barthes) ได้จัดวางแนวคิดสำคัญ ๆ เอาไว้  ซึ่งผูกโยงกันเข้าเป็นคำจำกัดความที่เรียกว่า “มายาคติ” ได้แก่  วัฒนธรรม ธรรมชาติและการเสกสรรปั้นแต่ง

ดังนั้น…..ข้าวล้านกล่อง ในมุมมายาคติ (Myth) จึงหมายถึง การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ

3. จากที่กล่าวมาตามลำดับข้างต้น จึงประมวลสรุปได้ว่า….มายาคติของ Barthes เป็นการวิเคราะห์ความหมายที่ได้เข้าไปพัวพันกับอำนาจ (Power) ของสถาบันต่างๆ ในสังคม  กรณี…ข่าวล้านกล่อง….โดยมองว่าจากสถาบัน(การเมือง)ที่มีอำนาจจะสามารถสร้างความหมายและอุดมการณ์ จากสิ่งที่เป็นความหมายโดยตรง (Denotation) ให้กลายเป็นความหมายโดยนัย (Connotation) และทำความหมายโดยนัย (Connotation) ให้กลายเป็นความหมายโดยตรง (Denotation) อีกครั้งผ่านวาทะ ซึ่งจะถูกเพิ่มความหมายจาก  สถาบันที่มีอำนาจขึ้นไปเป็นชั้นๆ (Upgrade) อย่างไม่ทันสังเกต

 หัวใจหลักที่ บาร์ตส์ (Barthes) บอกว่า ‘ความปกติ’ ของสังคมเกิดจากการโดนสัญญะที่แฝงอยู่
ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวชักจูงไป คือสิ่งที่บาร์ตส์เรียกว่า ‘มายาคติ’และให้ความสนใจศึกษาสิ่งที่เรียกว่า มายาคติอันเป็นความหมายที่คุ้นชินเพราะสถาบันที่มีอำนาจ (Power) จะสามารถสร้างความหมายที่แฝงเร้นให้ดูเป็นเรื่องธรรมดา ให้ดูไร้เดียงสา เสมือนว่าไม่มีความหมายและอุดมการณ์ใดแฝงเร้น ซึ่งจะใช้อำนาจผ่านการวิธีการสร้างวาทะต่าง ๆ อาทิ การเล่าเรื่อง การให้นิยาม การให้คุณค่า การสร้างข้อเท็จจริง เป็นต้น  เพราะถ้ามี Power ก็สามารถ Upgrade Connotative Meaning ของบางคนให้กลายเป็น Denotative Meaning ได้ Denotative Meaning คือความหมายที่ทุกคนยอมรับกันแต่ละคนก็จะมีหลายๆ Connotative Meaning แต่ถ้าใครที่มีอำนาจมากกว่าก็สามารถจะย้าย Connotative Meaning ขึ้นไปเป็น Denotative Meaning ได้  เช่น Lock ความหมายของ Connotative บางอย่างเอาไว้เป็น Code เช่น ยิว คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ในความหมายของความเป็นคนหน้าเลือดแต่หมายถึง คนงก เหมือนเวลาใช้คอมพิวเตอร์เวลาจะสั่ง print เปิดเครื่องมาจะขึ้นเลยว่า All หรือ Current page คือ lock ไว้แล้ว การให้ความหมายก็เหมือนกัน คำบางคำจะถูก lock ความหมายไว้แล้ว และเราก็ไม่รู้จะไปแก้ไขอย่างไร