พระอภิมุข สนตฺจิตโต (งานที่ 2)

พระอภิมุข  ฉายา สนตฺจิตโต นามสกุล ชิดชอบ ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (รป.ม.) ชั้นปีที่ ๑ มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเขตสุรินทร์

วันจันทร์ที่ ๑๐ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔

งานชิ้นที่สอง ให้นำปรัชญาอไคนัสมาวิจารณ์นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล

ตอบ

แบ่งเป็นปรัชณาตาม ๕ ประเภทแนวคิดของอไควนัสมาวิจารณ์นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล

๑. ลักษณะทั่วไป

          ในการถกแก้ปัญหาวัคซีนของรัฐบาล อไควนัสจะทำเป็นไม่แน่ใจว่าจะตอบอย่างไรดี ครั้นใช้เหตุผลพิสูจน์วัคซีนดูจึงจะพบคำตอบ และเป็นคำตอบที่น่าเชื่อเพราะถือว่ามีเหตุผลสนับสนุนอย่างมั่นคงจากสิถิติการฉีดวัคซีนโควิดในข้อมูลสากลการติดเชื้อได้รับวัคซีนขององค์กรอนามัยโลก คำตอบนั้นจึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิวรณ์ นั่นเป็นเพียงวิธีการเท่านั้น ความจริงแล้วอไควนัสมีคำตอบอยู่ล่วงหน้าแล้วว่า ในปัญหาดังกล่าวจะต้องตอบอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเชื่อของประชาชน แล้วจึงพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนและตอบโต้ข้อข้องใจต่างๆ

          ความคิดของอไควนัสสอดคล้องกันทั้งหมดเป็นระบบ แต่ก็สอดคล้องกันเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ หาได้สอดคล้องกันแบบนิรนัยไม่ กล่าวคือ มิได้พิสูจน์ตามลำดับชั้นเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ เรื่องนี้แหละที่เป็นจุดบกพร่องในการใช้เหตุผลของนักปรัชญาอไควนัส และจะเรียกร้องให้แก้ไขโดยใช้วิธีพิสูจน์แบบเรขาคณิตเชิงสิถิติ

๒. เหตุผล

          อไควนัสยอมรับเหตุผลการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาลว่าเป็นเครื่องหมายแห่งศักดิ์ศรีของรัฐบาล ประชาชนจึงควรเถิดทูนตัวเองโดยคิดด้วยเหตุผลและกระทำการอย่างมีเหตุผล เหตุผลจึงเป็นเครื่องมือแห่งการสร้างระบบความคิดของอไควนัสในการฉีดวัคซีนโควิดหาข้อมูลความจริง ทำให้ประชาชนกล้าฉีดวัคซีนไม่กลัวตาย

          ตรรกวิทยาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคคือ

๑) ตรรกวิทยาตัดสิน ตรงกับนิรนัยของเรา

๒) ตรรกวิทยาวิจัย ตรงกับอุปนัยของเรา

๓) ตรรกวิทยาอภิปราย ศึกษาเกี่ยวกับเหตุผลวิบัติ การเปรียบเทียบและวาทศิลป์

๓. ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับเทววิทยา

          อไควนัสชี้แจงว่าปรัชญาช่วยรัฐบาลอยู่ ๓ เรื่องคือ

                    ๑.พิสูจน์ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล

                    ๒.พิสูจน์ว่าศรัทธาของประชาชนไม่ขัดข้องกับเหตุผลของรัฐบาล

                    ๓.ตอบโต้ผู้ไม่มีศรัทธาในข้อมูลของรัฐบาล

          แต่ทั้งนี้หมายถึงปรัชญาที่ถูกต้อง ถ้าใช้ปรัชญาผิดจะได้ผลตรงข้าม คือ เสื่อมศรัทธาจนอาจเสียความเชื่อมั่นนโยบายของรัฐบาลไปเลยก็ได้

          ตรรกวิทยาช่วยเทววิทยา ๒ เรื่อง คือ

๑.พิสูจน์ว่าข้อเชื่อถือของประชาชนและรัฐบาลไม่ขัดแย้งกันและไม่ขัดแย้งกับความรู้ของประชาชน

๒.จากข้อเชื่อที่มีศรัทธาของประชาชนแล้ว ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับอนุมานไปถึงข้อเชื่ออื่นๆต่อไปได้

๔. โลกทัศน์

          อไควนัสถือว่า เหตุผลเป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้สำหรับแสวงหาความรู้

                    ๑.วัคซีนโควิด = วัคซีน sinovac + วัคซีน astrazeneca

๒.นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล = นโยบายของรัฐบาล + ความเชื่อมั่นความรู้ของประชาชนในชาติ

๓.คนได้รับวัคซีนแล้ว  = บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือพื้นฐานจากรัฐบาลช่วยลดอัตราการติดโควิดในสังคม

๔.หน่วยงานคณะรัฐบาล = ไม่ควรเอาใจเจ้าสัวหรือประเทศหนึ่งมากเกินไป ควรสร้างทางเลือกวัคซีนเกิดความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

ผู้คนประกอบด้วยร่างกายที่เป็นสสารและวัคซีนเป็นแบบที่มีภูมิคุ้มกัน จึงนับว่าผู้คนจำนวนนั้นเป็นสิ่งสมบูรณ์ที่สุดในระดับสังคม ไม่สร้างให้คนอื่นติดเชื่อโควิดเพิ่มเติม

๕.จริยศาตร์

          อไควนัส เห็นว่าจุดหมายในชีวิตคือ การได้เข้าใจสัจธรรมของโลกและในชีวิตต่อไปในโลกหน้า เพราะสิ่งที่มนุษย์แสวงหาก็คือความสุข เป็นศิลปะและศาสตร์แห่งการที่จะเตรียมใจมนุษย์ เพื่อจะได้บรรลุถึงความสุขสุดยอด ตามธรรมดาแล้ว ผู้คนมีแนวโน้มเอียงในทางที่ดี คือมีความโน้มเอียงไปหาวัคซีนที่ตนเองปรารถนา แต่สิ่งที่พิจารณาตัดสินว่าดีนั้น ในด้านศีลธรรมของรัฐบาลที่นำเข้ามาอาจไม่ถือว่าดีเสมอไปก็ได้

          จากการได้ศึกษาแนวคิดทางปรัชญาของอไควนัสนั้น อไควนัส เชื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่ของความจริงของปัญหาไวรัสโคโรน่า19 ในภาวะที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ ไม่เพียงแต่การรับรู้ด้วยเหตุและผลเท่านั้น แต่เป็นการสังเกตพฤติการณ์ของโลกเพื่อช่วยในการบริหารนโยบายจัดการวัคซีนของรัฐบาลได้ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *