พระอธิการก้าวชัย ปุญญฺกาโม

          บ้านเมืองเราในปัจจุบันนี้ประชาชนมีความหวาดผวาตื่นตระหนกของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด๑๙ จนทำไห้เกิดปัญหาระดับประเทศ ซึ่งแนวทางการควบคุมและการป้องกันการแพร่ระบาลของเชื้อโรคโควิด๑๙ของภาครัฐก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

          การติดเชื้อโควิด๑๙ ในเรือนจำและทัณฑสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ปิดทำไมเชื้อโควิดถึงแพร่ระบาดมากโดยที่นักโทษไม่ได้ออกไปสำผัสกับบุคคลภายนอกเลย

          ตามหลักแนวคิดของนักปรัชญาท่านหนึ่งชื่อ “ซุนวู” ผู้เขียนตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ได้กล่าวไว้ว่า“รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” คำนี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ และได้ผลจริงมาแล้ว

การรู้เขา เป็นการศึกษาเชื้อโควิด๑๙ว่ามีศักยภาพในการแพร่เชื้ออย่างไร อะไรเป็นตัวพาหะนำโรคและมีวัคซีนป้องกันหรือยาบำบัดรักษาไหม เพื่อที่เราจะได้วางแผนการรับ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หรือต่อสู้ได้อย่างทันทวงที คือการวางแผนและประเมินสถานการณ์ตามหลักยุทธศาสตร์   

การรู้เรา เรือนจำและทัณฑสถาน ต้องรู้ว่า เราเองอยู่ในสถานการณ์เช่นไร ทำอะไรได้แค่ไหน มีข้อควรระวังตัวเองอย่างไร มีอะไรเป็นจุดอ่อนหรือสภาวะเสี่ยงสูงในการรับเชื้ออย่างไร

          เรือนจำและทัณฑสถาน อาจดูเหมือนเป็นพื้นที่ปิด สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินงานราชทัณฑ์ไม่สามารถควบคุมปริมาณบุคคลเข้า-ออกได้ 100% เนื่องจากเป็นปลายทางของกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่สามารถปฏิเสธการรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ และการนำตัวผู้ต้องขังออกศาลได้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเองที่ต้องมีการหมุนเวียนการปฏิบัติงานอยู่ทุกวัน อีกทั้ง สายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน ยังมีระยะฟักตัวที่นานขึ้น และไม่แสดงอาการ ทำให้อาจเกิดการเล็ดลอดของเชื้อหลังจากผ่านพ้นระยะกักตัวได้โดยง่าย

          แสดงให้เห็นว่าการที่นักโทษในเรือนจำติดเชื้อ ทางเรือนจำและทัณฑสถาน ขาดการวางแผนและประเมินสถานการณ์ส่งผลให้นักโทษติดเชื้อมาก โดยมีสาเหตุหลายๆอย่างเป็นตัวเชื่อม เช่นขาดมาตรการเพื่อเฝ้าระวังเชื้อจากภายนอก  บุคคลกรเรือนจำและญาตินักโทษขาดระบบป้องกันที่รัดกุมการเข้าออกเรือนจำ นักโทษกับการดูแลและป้องกันตนเอง ความแออัดคับแคบของเรือนจำที่ทำให้การแพร่เชื้อได้รวดเร็ว ตลอดจนการคัดแยกผู้ติดเชื้อทุกรายอย่างรวดเร็วและดำเนินการรักษาอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง รวมถึงการอนุญาตให้หน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบเข้าไปดูแลอีกทางหนึ่ง

         ตอนนี้เราหันมาดูเรือนจำกับ๑๓กลยุทธ์ของซุนวูว่าการที่จะนำมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ (modification)ใช้อย่างไร”การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย ถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง” คือหนึ่งในคำกล่าวของ ซุนวู เนื้อหาทั้งหมดภายในตำราพิชัยสงครามซุนวู ถูกแบ่งออกเป็น 13 บท โดยแต่ละบทก็จะมีเนื้อหาเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป โดยหลักใหญ่ใจความจะว่าด้วยกลยุทธ์การรบด้วยยุทธวิธีต่างๆ ซึ่งยุทธวิธีเหล่านี้คือหลักการสำคัญที่สามารถนำมาจุดประกายความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง

บทที่ 1 การศึกษาสถานการณ์

         ในบทแรกซุนวูกล่าวไว้ว่าการทำสงครามเป็นเรื่องของความตาย ฉนั้นการต่อสู้กับเชื้อโควิด๑๙ที่แพร่ระบาดก็เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะลงสนามไปรบคือสู้กับโรคต้องศึกษาความเป็นไปให้ดีก่อน ต้องอ่านสถานการณ์ให้ออก ไม่งั้นจะเป็นการไปตายเปล่า เปรียบได้กับการประเมินศักยภาพของเรากับสังคมภายนอกสถาน ดูว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร เมื่อทราบผลการประเมินแล้ว ก็ทำการปรับยุทธศาสตร์ และนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับเรา

บทที่ 2 การทำสงคราม

         ซุนวูกล่าวไว้ว่าการทำสงครามเป็นเรื่องของความสิ้นเปลือง มีแต่เสียกับเสีย ดังนั้นถ้าจะทำสงครามต้องรวบรัด ถ้ายืดเยื้อต้องมีการเตรียมทรัพยากรให้พร้อมไม่งั้นจะลำบากในภายหลัง นั้นก็หมายความว่าการทำสงครามกับโรคมิได้หวังในผลกำไรแต่หวังเพื่อชีวิตที่อยู่รอดสามารถดำรงตนอยู่ในโลกนี้อีกเฮือกหนึ่งเท่านั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านวัสดุยุทโธปกรณ์ในเรื่องการป้องกันตัวแทนการลงทุนแบบธุรกิจนั่นเอง

บทที่ 3 กลยุทธ์

         การทำสงครามสามารถกำหนดแพ้ชนะกันได้ตั้งแต่ยังไม่ลงสนาม โดยดูได้จากการกลยุทธ์หรือการวางแผน โดยกลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือการชนะโดย ไม่ทำสงคราม ข้อนี้หมายความถึงว่าเราเองเรือนจำและทัณฑสถานต้องมีข้อกำหนดหรือข้อตกลงกับหน่วยงานรับผิดชอบด้านควบคุมโรคและผู้ที่ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงว่าห้ามละเมิดข้อปฏิบัติการควบคุมโรคของสถานที่นั้นๆนั่นเอง แม้จะฟังดูเป็นไปได้ยากแต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำกันได้

บทที่ 4 การวางตัวอยู่เหนือศัตรู

         หนึ่งในกลยุทธ์การทำสงครามที่ซุนวูกล่าวไว้อย่างได้น่าสนใจก็คือการแสร้งวางตัวอยู่เหนือศัตรู ต่อให้เหนือกว่าหรือไม่เหนือกว่า ก็ต้องทำให้ตัวให้เรามีอำนาจศัตรูจะไม่กล้าเปิดศึกด้วย นั้นก็คือเราต้องมองหาหลักการวางตัวเอง(ควบคุม)ว่าเรามีศักยภาพสามารถช่วยเหลือป้องกันตัวเองได้มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการป้องกันโรคแบบหลากหลาย อย่างไรเพื่อให้เกิดศักยภาพในการป้องกันและรักษาตนเองที่เหนือกว่าสังคมภายนอก

บทที่ 5 การจัดทัพ

         การจัดทัพเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ แม่ทัพควรอยู่ในจุดสูงสุด คอยบัญชาการ ไม่ลงไปช่วยในทุกการรบ ทหารทุกหน่วยสามารถทำการรบเหมือนกันได้หมด คือการสร้างความเข้มแข็งในเรือนจำและทัณฑสถาน โดยผู้นำต้องมีคุณสมบัติ มีจิตใจดี๑ มีความมั่นคง๑ (Kind but firm) เปรียบได้กับการสร้างองค์กรให้มีความแข็งแกร่งในทุกระดับ ผู้บริหารแข็งแกร่งลูกน้องก็ต้องแข็งแกร่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกอบรม การพัฒนาคนภายในองค์กรทำงานแทนกันได้

บทที่ 6 การใช้จุดอ่อน จุดแข็ง

         หลักการสงครามของซุนวูกล่าวไว้ว่าผู้จู่โจมก่อนคือผู้ชิงความได้เปรียบมาไว้ในกำมือ และถ้าอยากชนะสงครามต้องอ่านจุดอ่อนจุดแข็งของตนเองและศัตรูให้ออก คือมีความว่องไวในการคาดคะเนสถานการณ์อันจะมาถึงในไม่ช้าเพื่อการต่อต้านและยับยั้งอันได้แก่กลุ่มเสี่ยงข้างนอกที่จะเข้าไม่ว่าจะเป็นนักโทษหรือผู้มาเยี่ยมเยือนตลอดจนผู้นำผู้ควบคุมที่เข้า-ออก เปรียบได้กับการทำการตลาดที่ต้องรุกให้ไว อย่ารอช้าจนตลาดวาย น้ำขึ้นให้รีบตัก ศึกษาตามเก็บข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามให้ดีที่สุดเพื่อคอยสังเกตจุดอ่อน เวลาทำการรุก จะได้โจมตีถูกเป้าหมาย ชัยชนะก็จะเกิดง่ายขึ้น

บทที่ 7 การพลิกแพลง

         สิ่งที่ยากที่สุดในการทำสงครามก็คือการพลิกสถานการณ์ เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นรองพลิกแพลงจนนำไปสู่ชัยชนะ คือสามารถพลิกแพลงภาวะการณ์ในเรือนจำและทัณฑสถานไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดำรงชีวิตของนักโทษ การทำกิจกรรมต่างๆอันเป็นการเสี่ยงต่อการรับเชื้อ สามารถพลิกแพลงได้หลายรูปแบบ มีแผนหนึ่งอาจยังไม่พอ ต้องมีแผนสอง แผนสามตามมา สลับสับเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีอะไรเป็นข้อดีและข้อเสียถาวร

บทที่ 8 การเลือกกลยุทธ์

         หัวเคลื่อนแบบไหนหางก็เคลื่อนแบบนั้น นี่คือหัวใจหลักในการกำหนดกลยุทธ์ คือการเจริญรอยตามแนวทางของผู้นำหลักการข้อกำหนดของเรือนจำและทัณฑสถาน้วลูกน้องต้องยึดถือและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด “ลูกน้องย่อมเดินตามแม่ทัพผู้วางยุทธศาสตร์ ถ้าล้มก็ล้มไปด้วยกันทั้งขบวน” กลยุทธ์จึงเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือผู้กำหนดกลยุทธ์ ซุนวูกล่าวไว้ว่าผู้ที่เชี่ยวชาญในการกำหนดกลยุทธ์จะต้องไม่มี 5 พฤติกรรมเหล่านี้ ด่วนตัดสินใจ ขี้กลัว ใช้แต่อารมณ์ เย่อหยิ่ง และ ใจอ่อน

บทที่ 9 การเดินทัพ

         หลักสำคัญในการเดินทัพก็คือการสังเกตสภาพการรอบข้าง เมื่อจะยกทัพข้ามเขาจะต้องเดินใกล้หุบเขาที่มีแหล่งน้ำและหญ้า เมื่อจะยกทัพผ่านเขตหนองบึงต้องรีบผ่านไปโดยเร็ว เรืองนี้มองดูอาจไม่สำคัญหมายถึงการมองหาที่อันสมควรและเหมาะสมเมื่อนักโทษหรือผู้เกี่ยวข้องในเรือนจำและทัณฑสถานมีการติดเกิดขึ้นรีบเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูงพร้อมทั้งมีความเครื่องมืออำนวยสะดวกสะบาย เปรียบได้กับการรู้จักพื้นที่ รู้จักสภาพรอบด้านในทิศทางที่เราจะมุ่งไปข้างหน้า หนองน้ำคืออุปสรรคทำให้เราก้าวไปได้ช้า เราจึงต้องรีบก้าวผ่าน การทำธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ทิศทางที่มีอุปสรรคต้องรีบแก้ไข ผ่านไปให้ไวที่สุด

บทที่ 10 ภูมิประเทศ ชัยภูมิ         ลักษณะภูมิประเทศของซุนวูมีด้วยกัน 6 ลักษณะ ความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับการสภาพภูมิประเทศ คือเรือนจำและทัณฑสถานเป็นสถานที่ปิดมีกฎระเบียบใช้ควบคุมความประพฤติของนักโทษถือว่าได้เปรียบกว่าสาธารณะชุมชนข้างนอกมาก จึงทำให้ง่ายต่อการควบคุมการแพร่ของเชื้อโรคซึ่งสามารถกำหนดบริบทการปรับทิศทางแนวทางในการดำเนินกิกรรมภายในร่วมกันได้ง่าย เปรียบได้กับการกำหนด Location พื้นที่ของธุรกิจ พื้นที่ดีย่อมหนุนนำให้ธุรกิจไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจร้านค้าหรือร้านอาหาร Location เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมไปถึงเรื่องของ Position การวางตำแหน่งสินค้าก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

บทที่ 11 พื้นที่ 9 ลักษณะ

         พื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารของซุนวูแบ่งเป็น 9 ประเภท แต่ละพื้นที่ก็มีความต่างในวิธีการรบที่ต่างกันออกไป ในเรือนจำและทัณฑสถานก็เช่นกันเพราะสถานที่กักกันนักโทษมีทุกจังหวัดทั่วประเทศแต่ละที่แตกต่างกันด้านสถานที่แต่ความมีกฎระเบียบวินัยของควบคุมนักโทษคล้ายกัน ซึ่งแต่ละสถานที่กักกันควรปรับปรับพื้นที่ให้เข้ากับสถานการณ์สมเหตุสมผลและนำมาซึ่งผลดีในทางบวกขององค์กร ดูได้จากนโยบายให้เตรียมความพร้อมรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

          ที่ประชุมศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมราชทัณฑ์ (ศบค.รท.) ที่ผ่านมาโดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ได้มีนโยบายให้เตรียมความพร้อมรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อธิบดีราชทัณฑ์

ในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง เร่งดำเนินการ ดังนี้

-จัดพื้นที่จัดทำโรงพยาบาลสนามในเรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่ง พร้อมให้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขพื้นที่ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานในการเตรียมรองรับกรณีมีผู้ติดเชื้อได้ทันที

-ให้เรือนจำและทัณฑสถาน ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประจำเรือนจำทัณฑสถานทุกแห่ง

-เร่งคัดกรอง และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในผู้ต้องขัง หากพบเชื้อให้ X-ray ปอดทุกราย รวมถึงให้ยา และรักษาให้เร็ว เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง

-ใส่คลอรีนผสมในน้ำสำหรับอาบของผู้ต้องขังในเรือนจำทัณฑสถานทุกแห่ง

-เรือนจำทัณฑสถานที่มีการพบเชื้อให้เร่งตรวจหาเชื้อในเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง

ทุกรายจนครบ 100% ส่วนเรือนจำที่ยังไม่พบเชื้อให้สุ่มตรวจเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการไข้ และไอ

-กรณีมีการปล่อยตัวผู้ต้องขังที่มีการติดเชื้อ ก่อนการปล่อยตัวต้องรีบประสานสำนักงานสาธารณสุขพื้นที่ในการส่งต่อผู้ต้องขังไปยังพื้นที่ที่สาธารณสุขกำหนดโดยด่วน

บทที่ 12 การใช้ไฟ

         ไฟคือสิ่งอันตราย การใช้ไฟคือความเสี่ยงในการใช้กลยุทธ์ แต่ถ้าทำสำเร็จไฟก็จะให้คุณ ตอบแทนเราได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องเผชิญจากการใช้ไฟ คือการใช้กลยุทธ์เอาเชื้อเข้ามาในสถานที่ อย่าพึ่งคิดว่าจะมาแพร่เชื้อเพิ่ม แต่จะเป็นการให้ประสบการณ์ความรู้ที่เป็นสถานการณ์สร้างขึ้นจริง โดยกรณีพบผู้ติดเชื้อในเรือนจำและทัณฑสถานเมื่อตรวจพบและได้ทำการบัดบัดรักษาควบคุมเป็นอย่างดีทำให้สถานการณ์การติดเชื้อเริ่มคลี่คลายและดีขึ้นเรื่อยๆจากการแถลงข่าวของกรมราชทัณฑ์

         เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.64 นายอายุต สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถาน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 16.00 นาฬิกา) มีผู้ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 140 ราย รักษาหายวันนี้ 966 ราย ทำให้มีผู้ต้องขังติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณท์ 5,976 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

          โดยสถานการณ์ในวันนี้ ยังคงมีเรือนจำ/ทัณฑสถานที่เป็นเรือนจำสีขาว ไม่พบการระบาด และเรือนจำสีแดงที่พบการระบาด มีเรือนจำที่พ้นระยะสีแดง รอการปรับสถานะ 2 แห่ง คือ เรือนจำกลางเซียงใหม่ และเรือนจำจังหวัดนราธิวาส

          ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันนี้เป็นการตรวจพบเชื้อจากผู้ต้องขังในแดนจากเรือนจำสีแดง 134 ราย และในห้องแยกกักโรค 6 ราย จากเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี 3 ราย และเรือนจำอำเภอธัญบุรี เรือนจำกลางสมุทรปราการ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครแห่งละ 1 ราย ซึ่งจะพบว่าเรือนจำสีแดงที่พบการแพร่ระบาดส่วนใหญ่มีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อลดลง ขณะที่พบจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายสะสม 29,166 ราย หรือ 82% ของจำนวนผู้ป่วยสะสมทั้งหมด

          แสดงให้เห็นว่าการพบผู้ติดเชื้อในเรือนจำและทัณฑสถานเป็นผลดีในเชิงยุทธศาสตร์ “การใช้ไฟ”เพราะผลที่ตามมาคือมีจำนวยผู้ป่วยหรือผู้ที่ติดเชื้อลดลง ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อเสี่ยงที่จะรับและแก้ไขผลที่ได้รับก็ออกมาดีและเป็นคุณประโยชน์แก่เรา

บทที่ 13 การใช้สายลับ

         สายลับในความหมายของซูนวูคือผู้ให้ข่าวสารข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ทำให้เรารู้สภาพของข้าศึก และนำมาปรับใช้ในการดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างถูกวิธี คือการที่ทางเรือนจำและทัณฑสถานได้ส่งบุคลากรไปศึกษาเรียนรู้จากหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด๑๙พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติป้องกันแล้วนำมาอบรมให้ความรู้แก่นักโทษและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรือนจำและทัณฑสถานอีกทางหนึ่งไม่มัวแต่มารอเจ้าหน้าที่จากทางภาครัฐเข้ามาให้ความรู้ เปรียบได้กับ การแฝงตัวเข้าไปล่วงความลับในการทำธุรกิจของคู่แข่ง รู้ว่าเค้าทำอะไรอยู่ รู้เค้ารู้เรา แม้จะฟังดูเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างขี้โกง แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการใช้กลยุทธ์แบบนี้ไม่มีอยู่จริง อาจจะแค่เปลี่ยนจากรูปแบบจากสายลับไปเป็น Hacker เท่านั้นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *