พระทิพยรส ตนฺติปาโล (งานที่ 2)

พระทิพยรส  ตนฺติปาโล (ศรีสุข) คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รป.ม.)

วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

งานที่ ๒ แนวคิดของมหาตมะ คานธี ต่อนโยบายการล็อคดาวน์ ๑๐ จังหวัดของประเทศไทยเพื่อลดการติดเชื้อโควิดเพิ่ม

          กรณีที่รัฐบาลไทยได้สั่งล็อคดาวน์ 10 จังหวัดเพื่อไม่ให้เกิดโรค covid เพิ่มขึ้นซึ่งหลักการทำอย่างนี้จะทำให้ประชาชนเกิดภาวะในการดำเนินชีวิตที่ติดขัดเพราะต่างคนต่างต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีวิตแต่เมื่อจะทำให้โรคโควิดเบาบางลงจำเป็นต้องแก้ปัญหา

ในหัวข้อนี้ขออธิบายแนวคิดของ มหาตมะ คานธี มาวิเคราะห์ใช้เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยลง โดยหลักของมหาตมะ คานธี เรียกว่าหลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ซึ่งมีหลักก็คือการไม่ใช้ความรุนแรง การใช้ความเชื่อ ความวิริยะ อุตสาหะสมาธิและปัญญา โดยไม่ใช้ความรุนแรง

ซึ่งถ้าประชาชนมีศรัทธาว่าโรคนี้จะต้องหายและเราประชาชนชาวไทยต้องร่วมมือร่วมใจกันโดยไม่ใช้ความรุนแรงเข้ามาตัดสินปัญหาต้องใช้ความอดทนอาศัยพลังของประชาชนร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้โรคนี้หายไปจากประเทศไทย

ซึ่งทั้งฝั่งของรัฐบาลและฝั่งของประชาชนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันไม่ขัดแย้งกันทำให้สองฝ่ายเกิดสันติภาพรัฐบาลก็ต้องให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนที่เหมาะสมไม่เป็นการกดดันประชาชน

รัฐบาลเองเป็นผู้กำหนดนโยบายที่จะล็อคดาวน์ประเทศซึ่งยึด 10 จังหวัดเป็นหลักในการล็อคดาวน์เพราะเป็นจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดจึงทำให้รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลต้องใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาโดยไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจของประเทศและไวรัสที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องทำให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธาต่อรัฐบาลเอง

ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีสัจจะและความจริงโดยไม่ปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นสถิติผู้ติดเชื้อโดยจะต้องดำเนินงานควบคุมด้วยความไม่ประมาทใส่ใจต่อประชาชนให้มากโดยไม่เพิกเฉยต่อความเป็นอยู่ของประชาชนซึ่งถ้าทำตามหลักของมหาตมะ คานธี แล้วเชื่อได้ว่าการกระจายตัวของเชื้อไวรัสโควิดจะต้องเบาบางลงหรือไม่ก็หมดไปจากประเทศไทยอย่างแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *