นางสาววาสนา ดวงศรี

ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ(Separation of Powers) ของมองเตสกิเออ เป็นที่รู้จักกันดี และยังถูกนำมาใช้รัฐธรรมนูญเกือบทั่วโลก ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ คือ แนวความคิดในการแบงแยกอํานาจอธิปไตย  ออกเปน ๓ ฝ่าย  ได้แก่  1) ฝ่ายนิติบัญญัติ  มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย  ซึ่งในที่นี่หมายถึงรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) สมาชิกวุฒิสภา(สว.) หรือสภาสูง 2) ฝ่ายบริหาร  มีอำนาจในการจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย  ซึ่งได้แก่  ผู้บริหาร คณะรัฐบาล หรือคณะปกครองพิเศษ เช่น คสช.เป็นต้น และ 3) อำนาจตุลาการ มีอำนาจในการตัดสินใจและการพิพากษาอรรถคดี  ซึ่งองค์กรสำคัญที่ใช้อำนาจตุลาการได้แก่  ศาล  

การได้มาของ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในยุค คสช.

          ในระบบการบริหารของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 นั้น เป็นยุคบริหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และมีการให้สิทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) สามารถโหวดเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2562 สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. จึงต้องโหวดเลือกหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ผู้แต่งตั้งนั้น จนกระทั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีในที่สุด

ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีการกุมอำนาจเกิดขึ้นเพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ตามแนวคิดของมองเตสกิเออนั้น มองว่า อำนาจทั้ง 3 อำนาจนี้ควรจะต้องแบ่งแยกออกจากกันเป็นอิสระโดยมีความคิดเห็นว่า “อำนาจเท่านั้นที่จะหยุดยังอำนาจได้” เพราะถึงแม้ว่า ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐจะได้มาจากประชาชนโดยการเลือกตั้งก็ตาม แต่ก็ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าคณะผู้ทำการปกครองประเทศจะไม่หลงอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีการแยกอำนาจดังกล่าวออกจากกัน ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ปกครองประเทศ ซึ่งเป็นคณะบุคคลฝ่ายเดียวใช้อำนาจต่าง ๆ โดยไม่มีขอบเขต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *