พระชัชวาล สิริวณฺโณ (อาจนะรา)

การแก้ไขปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดในสังคม อริสโตเติล มองปัญหายาเสพติดอย่างไร

ตัวอย่างหนึ่งคือมุมมองต่อ “ความสุข” ของอริสโตเติล

แนวความคิดของอริสโตเติล มองว่า “เราควรมีชีวิตอยู่อย่างไร” ซึ่งคำตอบของอริสโตเติลเป็นการสรุปความง่ายๆ นั่นคือการแสวงหาความสุข

อริสโตเติล ไม่ได้มองว่าความสุขคือความเบิกบานใจในชั่วครู่ และเขาคิดว่าเด็กเล็กไม่อาจมี “ความสุข” ซึ่งบางคนอาจไม่เห็นด้วย บางคนมองว่าวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่มี “ความสุข” สำหรับอริสโตเติลแล้ว วัยเด็กคือช่วงที่ชีวิตเพิ่งเริ่มต้น มนุษย์ยังต้องใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยระยะเวลายาวนานกว่านั้น

การแสวงหาความสุขในที่นี้ไม่ใช่การออกไปข้างนอกแสวงหาความสำราญ หรือนึกถึงวิธีที่จะทำให้สำราญเบิกบานใจอย่างเช่นวันหยุดในต่างแดน หรือใช้เวลาร่วมกับมิตรสหาย อริสโตเติลมองว่าสิ่งเหล่านี้คือส่วนผสมหนึ่งของ “ชีวิตที่ดี” แต่หากได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้เพียงลำพังก็ไม่อาจบอกได้ว่าเป็นชีวิตที่ดี กล่าวคือ ความสุขของอริสโตเติล เป็นสภาวะภายในจิต ซึ่งจะได้มาจากการใช้ชีวิตด้วยวิถีทางที่เหมาะสมที่สุด

ถ้ากล่าวถึงการนำความคิดหรือแนวคิดของอริสโตเติลมาแก้ไขปัญหายาเสพติดที่มีแพร่หลายในชุมชน ซึ่งแนวคิดที่ อริสโตเติลได้มองว่าความสุขความเบิกบานใจเป็นความสุขสำหรับวัยเด็กซึ่งการแสวงหาความสุขในที่นี้ไม่ใช่ว่าจะออกไปข้างนอกอย่างเดียวซึ่งในปัจจุบันนี้ ที่เยาวชนไทยติดยาเสพติดก็เพราะว่าปัญหาเกิดจากการคบเพื่อนที่ได้ชวนกันออกไปนอกสถานที่เพราะขาดความอบอุ่นจากครอบครัว แต่ถ้านำความคิดของอริสโตเติลไปใช้ในรูปแบบของครอบครัวโดยที่พ่อแม่ได้ให้ความสุขอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเอาใจใส่หรือการดูแล การสอนให้รู้จักคิดในสิ่งที่ถูกให้ความรักสิ่งเหล่านี้จะเป็นความสุขพื้นฐานที่เด็กได้รับถ้าเด็กได้รับความสุขอย่างนี้ก็จะทำให้ไม่ต้องออกไปแสวงหาความสุขข้างนอก แล้วก็จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สังคมไทยเยาวชนไทยก็จะไม่มียาเสพติดเข้ามาในชีวิต

เมื่อพ่อแม่สอนให้ลูกหลานได้รู้จักความรักเป็นได้ทั้งเพื่อนพี่น้องเป็นได้ทุกอย่าง สอนให้รู้จักคบเพื่อนว่าเพื่อนคนไหนที่จะนำทางเราไปทางที่ดี ให้รู้จักโทษของยาเสพติดว่าเป็นอย่างไรเมื่อเขารู้จักโทษเหล่านี้แล้วก็จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดี หรือยาเสพติดนั่นเอง

“ชีวิตที่ดี” ในมุมมองของอริสโตเติลถ้าเรานำมาใช้ ให้เข้ากับชีวิตครอบครัวถ้าครอบครัวปลูกฝังให้รู้จักสิ่งที่ดีในชีวิตที่สุดเชื่อได้ว่าเมื่อความสุขในครอบครัวมีแล้วการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสังคมก็จะไม่สามารถเกิดได้เพราะเยาวชนหรือบุคคลที่ได้รับความปลูกฝังให้รู้โทษในสิ่งที่ได้รับจากยาเสพติดแล้วก็จะไม่มีจิตสำนึกในการต้องไปแสวงหาสิ่งเหล่านั้นได้เลย

ในอีกแง่มุมหนึ่งของแนวคิดของอริสโตเติลได้กล่าวว่า

๑. มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่อยู่ร่วมกันในชุมชน : ตามลักษณะธรรมชาติสัตว์ส่วนใหญ่จะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เช่นเดียวกับมนุษย์ ที่บอกว่าจะเป็นมนุษย์เมื่ออยู่กับมนุษย์ ต้องการการอยู่ร่วมกัน

๒.  ชุมชนที่ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของมนุษย์คือรัฐ

๓.  รัฐที่ดีก็ต้องสามารถเสริมสร้างให้มนุษย์มีจิตใจที่ดี และร่างกายแข็งแรง

๔.  คุณธรรมทางปัญญาและทางศีลธรรม

๕.  ปัญญา เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมเกี่ยวกับความดี เพื่อเป้าหมายแห่งความสุขในชีวิต

๖.  ศีลธรรม  เกิดจากกระบวนการอบรม บ่มเพาะให้คนประพฤติดี ปฏิบัติดี

ถ้าจะอธิบายปัญหายาเสพติดที่เกี่ยวกับแนวคิดนี้ก็จะอธิบายว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่อยู่รวมกัน ถ้าชุมชนนั้นพัฒนาโดยการได้รับการสนับสนุนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ที่รัฐบาลจะต้องแนะนำเรื่องเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและจัดกระบวนการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยที่รัฐโดย จะต้อง เสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับประชาชนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นทางด้านคุณธรรม หรือศีลธรรมที่ดีที่เกี่ยวกับเรื่องของยาเสพติดโทษของยาเสพติดเพื่อให้คนในชุมชนนั้นได้เกิดปัญญาเรียนรู้โดยมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายคือการไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและรัฐจะต้องมีกระบวนการบ่มเพาะความประพฤติ ให้แก่คนในชุมชนให้เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีไม่เกี่ยวข้องและชี้โทษให้เห็นถึงยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นทางด้านของกฎหมายว่าจะได้รับโทษอย่างไรและโทษเกี่ยวกับร่างกายสมองหรือปัญญาจะทำให้เสื่อมลงไปเรื่อยๆซึ่งเมื่อประชาชนในชุมชนหรือประเทศได้รับสิ่งเหล่านี้จากรัฐบาลแล้วเชื่อได้ว่าสังคมไทยประเทศไทยจะต้องห่างไกลจากยาเสพติดและไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้คนในชุมชนยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดอีกอย่างแน่นอน

อีกแนวคิดหนึ่ง อริสโตเติล ถือว่าการศึกษาเป็นกระบวนการที่จะช่วยฝึกฝน ร่างกาย จิตใจ ความคิด และอุปนิสัยของคน เพื่อให้เป็นพลเมืองดี เป็นการเตรียมบุคคลให้รู้จักแสวงหาความสุขด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ความมุ่งหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ทุกคนมี คุณงามความดีและมีความสุข คุณธรรมและความสุขเป็นอุดมการณ์ของการศึกษาของอริสโตเติล ปรัชญาการศึกษาสัจจนิยม จึงยึดโลกทัศน์ที่เรียกว่า “โลกนี้เป็นโลกแห่งวัตถุ” (A World of Things) ความรู้ ความจริง เป็นภาวะของธรรมชาติ การให้มนุษย์เข้าถึงความจริงแห่งธรรมชาติโดยวิธีวิทยาศาสตร์ จึงเป็นจุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษาสาขานี้

ในแนวความคิดนี้เป็นการเน้นเป็นตัวบุคคลซึ่งในตัวบุคคลจะต้องฝึกนิสัยฝึกจิตใจให้มีความเข้มแข็งเมื่อเราฝึกได้อย่างนี้แล้วในการปฏิบัติหรือการรู้เท่าทันสิ่งเสพติดก็จะเกิดขึ้นเพราะเราฝึกจิตใจคนเราให้รู้จักโทษของสิ่งเสพติดเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็จะทำให้กลายเป็นพลเมืองที่ดีเป็นคนดีของสังคมเมื่อมีบุคคลที่ได้ฝึกอย่างนี้แล้วเชื่อได้ว่าในประเทศไทยคงจะไม่มีสิ่งเสพติดเข้ามาในประเทศได้เพราะพลเมืองที่ได้รับปลูกฝังในเรื่องจิตใจจิตสำนึกให้รู้สิ่งที่ดีๆนั้นจะไม่มีความคิดหรือการกระทำที่จะมามุ่งเน้นในสิ่งเสพติดและสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศชาติหรือสังคมชุมชนจะห่างไกลยาเสพติดอย่างแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *