บักเคนทะลุมิติ ตอนที่ (125)
นโปเลียนก็ได้ใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มทหารม้ามัมลุคแตกกระจายจนเสียหายย่อยยับ มูแรดเมื่อเห็นว่าสู้ไม่ได้ “พวกเราถอย ไปทางด้านทิศเหนือ” มูแรด ได้ควบม้านำหน้าไปทางทิศเหนือของอียิปต์ โดยมีทหารที่รอดชีวิตประมาณ 3,000 นายควบม้าตามไป มูแรดต้องเสียชีวิตทหารและตกเป็นเชลยของนโปเลียนกว่า 5,000 คน
การพ่ายแพ้ของทหารม้ามุมลุค ทำให้มูแรดก่อนที่จะหลบหนีได้ให้ทหารม้าไปแจ้งข่าวของการพ่ายแพ้การรบแก่อิบราฮิม ที่รักษาการณ์อยู่ในกรุงไคโร
อิบบราฮิมพอทราบข่าวการพ่ายแพ้ของกองทหารม้ามัมลุค ได้อพยพออกจากกรุงไคโรเพื่อหลบหนีไปซีเรีย ได้ขนทรัพย์สินไปจำนวนมาก อะไรที่ขนไปไม่ได้ก็สั่งเผาทิ้ง
******************************
กรุงคอนสแตนติโนเปิล ณ วังของสุลต่านซาลิมที่ 3 ได้มีการประชุมเลี้ยงน้ำชา และมีการจัดงานเลี้ยง กับเหล่าขุนพลของสุลต่านซาลิมที่ 3
“ฝรั่งเศสยังเป็นมิตรที่ดีของออตโตมัน การที่นโปเลียนเดินทางบุกอียิปต์เพื่อขับไล่ราชวงส์มัมลุค (Mamluke) ออกจากประเทศอียิปต์ ที่ปกครองด้วยความไม่ยุติธรรม และข้าจะให้เขียนคำ ชาฮาดะฮฺ ไว้ด้วย” สุลต่านซาลิมที่ 3 ได้แจ้งแก่ผู้ที่มาประชุม
“ได้ท่านสุลต่าน รอฮีม เราเชื่อท่านสุลต่าน พวกเราจะเฝ้ารอว่าฝรั่งเศสหลังจากขับไล่มัมลุคออกไปแล้ว จะทำอะไรต่อ จะปกครอง หรือถอยทัพ หรือจะให้อียิปต์ปกครองตนเอง”
“ข้าก็รอดูอยู่เหมือนกันว่า นโปเลียนจะจัดการปกครองอียิปต์อย่างไร ถ้ายึดครองและเกิดความวุ่นวายก็ต้องโจมตีขับไล่ฝรั่งเศสให้ออกจากอียิปต์” สุลต่านซาลิมที่ 3 เอ่ยบอกที่ผู้มาร่วมประชุม
เอ้าดื่ม ชา……….งานเลี้ยงสังสรรค์กับทหารก็จบลงด้วยการหารืออนาคตของอียิปต์ภายใต้การปกครองของนโปเลียน
****************************************
หลังจาก การรบได้รับชัยชนะ นโปเลียนก็ได้ยกขบวนทัพเข้าไปยังกรุงไคโร นโปเลียนได้พำนักอยู่ที่บ้านของอิบบราฮิม บักเคนและนักวิทยาศาสตร์ไปพักที่ฮาเร็มของมูแรดที่มีห้องพักไม่ต่ำกว่าร้อยห้อง ส่วนที่เหลือก็แยกย้ายกันไปอยู่ตามบ้านพักที่เจ้าเมืองไคโรได้จัดไว้
นโปเลียนได้ออกคำสั่งแต่งตั้ง ให้อาหมัด ยูซุปเป็นเจ้าเมืองไคโร โดยนโปเลียนได้รู้จักอาหมัด ยูซุป ตั้งแต่สมัยเรียนที่โรงเรียนนายร้อยที่ฝรั่งเศส อาหมัด ยูซุปเป็นลูกชายอดีตเจ้าเมืองที่ถูก มูแรดเข้ายึดอำนาจ ครอบครัวของอาหมัด ยูซุปต้องลี้ภัยไปอยู่ที่ฝรั่งเศส และได้รู้จักกับนโปเลียน อาหมัด ยูซุป ที่บ้านพักไม่ไกลจากโรงเรียนทหาร ยูซุป เป็นคนที่มีความคิดทางการเมืองก้าวหน้า นโปเลียนเกิดความสนใจ ได้ชักชวนให้ ยูซุปมาช่วยงาน โดยเฉพาะงานการเมืองที่จะเป็นประโยชน์แก่นโปเลียนในอนาคต ในการปลดปล่อยอียิปต์
เมื่อนโปเลียนได้เป็นทหาร จึงทำการติดต่อยูซุป เข้ามาเตรียมการในอียิปต์ ณ ห้องเลี้ยงรับรอง วันนี้ เจ้าเมืองไคโร ยูซุป ที่นโปเลียนได้แต่งตั้ง ได้เลี้ยงต้อนรับนโปเลียน โดยนโปเลียนได้มาพร้อมกับบักเคนและ นักวิทยาศาสตร์ นักเคมี นักโบราณคดี บูชาร์ด ฌองโปลิยง เกสพาร์ด ครุยส์ กูฟฟราน ซีแลร์ มองส์โวส์ หมอฮาห์เนมานน์ ส่วนหมอ ลาเลย์ไม่ได้เดินทางมายังอยู่ที่เกาะมอลต้า
“ท่านนโปเลียน วันนี้ผมได้จัดให้มีการแสดงอันลือชื่อให้ท่านกับคณะได้ชม” ยูซุปบอกนโปเลียน
“ดี ดี ผมก็อยากชมว่าจะสวยงามแค่ไหน”
เสียงตีกลอง ดังกระหึ่ม พร้อมกับมีสาวนำโดย เพาลีเน เบลลีซ เฟาเรส หล่อนมีรูปร่างสูงระหง ผมยาวสลวย สะโพกผายก้นที่งอนสวย มาในชุดบางแนบเนื้อ การร่ายรำของเธอกับนักแสดง นับสิบชีวิต มาส่ายสะโพกโยกย้ายไปมา ท่ามกลางเสียงกลองดังกระหึ่ม ในท่วงท่า ที่ได้มาจากชนเผ่าเร่ร่อนยิปซีจากอัฟริกาเหนือ แล้วนำมาแสดงให้นโปเลียนได้ชมในท่า Isis Wing ปีกพระแม่ไอซิสที่ยังมีการแสดงถึงปัจจุบันนี้ ทำให้ทุกคนดูตื่นเต้นโดยเฉพาะนโปเลียนที่จ้องตาไม่กระพริบ ในการเต้นของเฟาเรส ที่ใส่ชุดขาวแนบเนื้อ เนื้อหนั่นสะโพกส่ายแน่นโยกย้ายไปมา อกกระเพื่อมตามจังหวัดที่เต้น ได้บิ้วอารมณ์ของนโปเลียนให้เกิดคึกคักขึ้นมา
“โอ…พระเจ้าช่างสวยงามยิ่งนัก ท่าเต้นของนางรำ ชุดขาว สะโพกเธอส่ายไปมา สวรรค์ช่างบรรจงสร้างอะไรที่สวยงามเช่นนี้” นโปเลียนบอกกับยูซุป”
“ถ้าท่านนโปเปลียนสนใจหลังการแสดงเสร็จผมจะไปบอกให้นางมานั่งคอยรับใช้ท่าน” ยูซุปบอกนโปเลียน
“สวยงามมาก บักเคนเอ่ยกับคุณหมอ ฮาห์เนมานน์ และ ฌองโปลิยง ใช่ท่าเต้นระบำหน้าท้องผมคิดว่า ถ้านำไปประยุกต์ใช้รักษาโรคก็น่าจะได้” หมอ ฮาห์เนมานน์ บอก บักเคน กับ ฌองโปลิยง
“ใช้รักษาโรคอะไรครับ คุณหมอ ท่าเต้นระบำหน้าท้องผมไม่เคยได้ยิน” บักเคนสงสัยเลยถาม ฌองโปลิยง ก็จ้องหน้าหมอฮาห์เนมานน์ ด้วยความสงสัยและอยากจะถามแต่บักเคนได้ถามในสิ่งที่ตนสงสัยแล้ว
“ใช้รักษาโรคเรื้อรังต่างๆ เกิดขึ้นจากภูมิต้านทานต่ำ ดังนั้นการขยับร่างกายผ่านการเต้นเข้าจังหวะช้า-เร็ว-ช้า-สลับกัน ช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลืองในร่างกายให้ไหลเวียนดี ปรับระบบกลไกในร่างกายให้ขจัดสารพิษหรือของเสียได้ดี” หมอฮาห์เนมานน์บอกทั้งคู่ที่ตั้งใจฟัง
“อา แพทย์ทางเลือก การเต้นระบำหน้าท้องช่วยรักษาโรคเรื้อรัง บักเคนเพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกในชีวิต
บักเคนได้หันไปสนทนากับ บูชาร์ด ซึ่งเป็นนักโบราณคดี “ท่านสนใจจะไปดูมหาปิรามิดคูฟูไหม ไหน ๆ มาถึงอียิปต์แล้ว ต้องไปดู
“ไปซิ เพราะท่าน นโปเลียน มอบหมายให้ผม มาสำรวจแหล่งโบราณคดีในอียิปต์ จึงเป็นภารกิจสำคัญของผม ท่าน นโปเลียนก็จะไปสำรวจด้วย ก่อนเดินทางมาผมได้ศึกษาประวัติของเมืองไคโร เป็นเมืองที่มีแม่น้ำไนล์แบ่งแยก ระหว่างเมืองคนเป็นกับคนตายชัดเจน” บูชาร์ดบอกบักเคน หมายความว่าอย่างไร กรุงไคโรที่คนอาศัยจะอาศัยอยู่รวมกัน แต่อีกฝั่งของแม่น้ำไนล์ด้านตะวันตกจะเป็นที่ก่อสร้างปิรามิด หรือสุสานของฟาโรห์ และสุสานของคนที่ตายไปในระดับขุนนางและชาวบ้าน แต่มีเมืองเล็ก อยู่ระหว่างปิรามิดกับไคโร เพราะเมืองที่อยู่กึ่งกลางจะมีหน้าที่ในการดูแลสวนและเป็นที่พักในช่วงเดินทางมาชมปิรามิด” บูชาร์ดบอกบักคน
“คุณเคน ให้ผมจัดการธุระในเมืองโคโรให้เสร็จก่อนจะนำคุณเคนไปสำรวจมหาปิรามิดแห่งกิซา พีระมิดของฟาโรห์คูฟู พีระมิดของคาเฟร (พระราชโอรส) และพิระมิดของเมนคูเร (พระราชนัดดา)
“ขอบคุณท่าน ผมอยากไปชมความยิ่งใหญ่ของปิรามิดอยู่แล้ว เพิ่งคุยขอความรู้เกี่ยวกับปิรามิด จาก ท่านบูชาร์ด” บักเคนบอกนโปเลียน
หลังจบการแสดงระบำหน้าท้อง ทุกคนก็แยกย้ายกันไปพักผ่อน ยูซุปได้เรียก เฟาเรส มานั่งกับนโปเลียน และบอกเฟาเรสว่า พรุ่งนี้ตนจะไปเจรจากับพ่อแม่ของ เฟาเรสเพื่อให้ถูกต้องตามประเพณี มุตาห์ (Mutah) ซึ่งเฟาเรสก็ตอบตกลง
การแต่งงานแบบ มุตาห์ เป็นการแต่งงานชั่วคราวของชาวอิสลาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงว่าจะแต่งงานกันแค่ช่วงเวลาหนึ่งตามที่กำหนด อาจทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเอ่ยด้วยวาจาก็ได้ เงื่อนไขต่าง ๆ แล้วแต่จะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย รวมทั้งข้อที่ว่าฝ่ายหญิงจะได้รับสินสอดเท่าไร เฟาเรส หลังจากได้นโปเลียนเป็นสามีเธอก็คือคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ในยุค นโปเลียนปกครองอียิปต์
****************************************
รุ่งเช้า ราฮิม ที่เป็นอุลามา ของกรุงไคโรได้มาขอพบ นโปเลียน หลังจากทำละหมาดเสร็จ ในช่วงเวลาย่ำรุ่ง เป็นละหมาดศุบหุราฮิมได้เดินทางมาพบนโปเลียนประมาณ 8 โมงเช้า นโปเลียนตื่นนอนด้วยความสดชื่น เพราะเมื่อคืนมี เฟาเรสได้ตามมาปรนนิบัติ นโปเลียนถึงห้องจนเกือบสว่าง ทำให้นโปเลียนแทบลืม บาร์บาร่าที่ปารีส นโปเลียนติดใจในรสสวาท ที่เฟาเรสป้อนให้
หลังจากตื่นนอน นโปเลียนแม้ว่าจะนอนน้อยแต่ก็ตื่นเช้า ร่างกายกระฉับกระเฉง ได้เข้าร่วมประชุมที่จวนว่าการของเจ้าเมืองไคโรเพื่อวางแผนอนาคตของอียิปต์ โดยนโปเลียนได้สนทนากับยูซุป โดยมีบักเคนและนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดกำลังสนทนากันในห้องประชุม ถึงการกำหนดแผนการที่ทุกคนจะต้องมีภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายจากนโปเลียนก่อนเดินทาง
ร้อยโทลูคัส ได้มารายงานนโปเลียน “เรียนท่านนายพล มีนักบวชมา ชื่อราฮิม มาขอพบท่านครับ”
“ท่านนโปเลียน ราฮิม เป็นนักบวชที่ผมติดต่อไว้ให้ท่านและได้บอกให้มาพบท่านในวันนี้” ยูซุปบอกกับนโปเลียน
“ผมขอตัวไปพบนักบวชขอให้ทุกท่านประชุมกันต่อ ผมขอมอบให้พลเอกมีโนเป็นประธานแทนผม” นโปเลียนก็เดินออกไปพร้อมกับร้อยโทลูคัส และยูซุป พบกับราฮิม
“อัสลามุอะลัยกุม.” ราฮิมกล่าวทักทายนโปเลียน
“วะอะลัยกุมุสลาม.” นโปเลียนได้เรียนคำทักทายสั้น ตอนเดินทางมาอียิปต์ ตามหนังสือที่ยูซุปมอบให้
“ยินดีมากที่ท่านให้เกียรติมาพบผมถึงที่นี่” นโปเลียนบอกราฮิม
“ศอบาหุลค็อยรฺ. มาพบท่านนโปเลียนเพื่อเชิญท่าน นโปเลียนไปร่วมหารือที่ มัสยิดอิบันตูลูน กับ อุลามาอีกหลายท่าน ในวันพรุ่งนี้
“ผมยินดีเป็นอย่ายิ่ง ผมก็อยากจะพบกับอุลามาอยู่พอดี
หลังจากพูดคุยกับ ราฮิมเสร็จนโปเลียนก็เดินเข้าห้องประชุมพร้อมกับยูซุป เพื่อวางแผนงานต่อ
หลังจากเลิกประชุม ก่อนเที่ยง นโปเลียนได้เดินออกมาพร้อมกับพลเอกมีโน หมอหมอฮาห์เนมานน์ บูชาร์ด และบักเคน ส่วนยูซุป ได้ร่วมหารือกับนายทหารคนอื่น ๆ นักวิทยาศาสตร์ ยังต้องมีประชุมต่อ
บักเคนทะลุมิติ ตอนที่ (126)
“ท่านจะไปพบนักบวช อุลามาราฮิมพรุ่งนี้ใช้ไหมครับ” พลเอกมีโนถามนโปเลียน
“ใช่เพราะผมตั้งใจเมื่อยึดอียิปต์ได้แล้ว ต้องไปพบผู้นำทางศาสนา ผู้รู้ของอียิปต์เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้นำทางจิตวิญญานของชาวบ้านก่อน เพื่อให้การยึดครองอียิปต์เป็นไปด้วยความราบรื่น” นโปเลียนบอกทุกคน
“ท่านนายพลผมไม่เข้าใจ อุลามา มีความสำคัญอย่างไรต่อชาวอียิปต์” บักเคนถามด้วยความสงสัย
นโปเลียนได้บอกกับเคนว่า “อุลามา คือบรรดาผู้ศึกษาหาความรู้ ตามบุลลอฮฺและซุนนะห์นบี อุลลามาจึงเป็นผู้รู้ผู้สืบทอดมรดกของบรรดานบี”
นโปเลียนได้แนะนำว่า ราฮิม ที่เป็นอุลามา ตามแนวทาง อุลามา อฺอุมมะฮ เพราะบรรดาผู้รู้เหล่านี้ที่ต้องการความนิยมชมชอบจากมวลชนหรือสังคม สิ่งใดที่คนทั่วไปพอใจ เขาก็ดำเนินการเผยแผ่และสอนตามนั้น เพื่อเอาใจผู้คน ผมต้องการปกครองอียิปต์ด้วยความสงบไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ต้องได้รับการยอมรับจาก อุลามาก่อน
ผมจึงมีความคิดจะแต่งตั้งคณะกรรมการบรรดาอุลามาอฺที่มีแนวคิดแบบ อฺอุมมะฮ ดีกว่าที่จะติดต่ออุลามาที่มีความคิดแบบ อุลามาอฺมิลละฮ คือ บรรดาผู้รู้ที่มีเป้าหมายเพื่อยกศาสนาของอัลลอฮให้สูงส่ง และเขาไม่สนใจว่า รัฐหรือคนทั่วไปจะพอใจหรือไม่ เพราะเขายึดศาสนาและความถูกต้องเป็นหลัก อาจจะสร้างความวุ่นวายให้กับอียิปต์
“ท่านนายพลนโปเลียนรู้ได้อย่างไรว่าราฮิม เป็นอุลามาในแบบที่ท่านต้องการ” บักเคนถาม
นโปเลียนบอกบักเคนกับพลเอกมีโน “ผมให้ทหารหน่วยข่าวกรอง ที่ผมส่งตัวมาฝังตัวอยู่ในอียิปต์ก่อนหน้าที่จะบุกอียิปต์ เป็นคนรายงานข่าว และเป็นคนติดต่อราฮิม “
“อา นี่คือการใช้สายลับ หรือหน่วยจารชนในการรบ ในการหาข่าวเบื้องต้น นับว่ามีประโยชน์ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” บักเคนพูดออกมา
“ใช่คุณเคน ไม่ใช่ยกทัพมารบแล้วยิงต่อสู้กัน ก่อนการรบต้องมีการสืบข่าว การใช้สายลับ รวมถึงการรบในรูปแบบและ นอกรูปแบบ อย่าให้ข้าศึกเลือกพื้นที่การรบ เราจะรบในสถานที่ที่เราต้องการรบ ไม่ใช่ที่ข้าศึกต้องการ เราจะต้องรักษาความได้เปรียบในการเลือกพื้นที่เสมอ ดังนั้นต้องกำหนดสมอภูมิในการรบ การติดต่อสื่อสารก็เป็นหัวใจสำคัญ ผมนำนักวิทยาศาสตร์มาผมตั้งหน่วยทหารช่าง เพื่อทำการวางสายโทรเลข เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างศูนย์บัญชาการกับ พื้นที่ที่ตั้งค่ายเพื่อสะดวกในการติดต่อ ผมได้สั่งให้ทหารช่างวางสายโทรเลขจากไคโรไปยังเมืองอเล็กซานเดีย และหน้าหาดอ่าว อ่าวบูกีร์ เพื่อแจ้งเหตุเมื่อมีข่าวข้าศึกมาถึง พวกเราจะได้เตรียมตัวทัน” นโปเลียนบอกกับบักเคน
พลเอกมีโน ได้ถามนโปเลียน “ ท่านทำไมต้องเดินทางไปหาราฮิม และกรรมการอุลามา ให้มันยุ่งยากทำไม ในเมื่อเราก็ยึดครองอียิปต์ได้แล้ว ก็เข้าควบคุมเมืองได้ ผมว่าไม่จำเป็น”
“ไม่ได้ เราปกครองชาวบ้าน ที่นับถือศาสนาอิสลาม เราต้องใช้หลักศาสนานำเพื่อให้ชาวบ้านยอมรับ ว่าพวกเรามาปลดปล่อยอียิปต์จากการกดขี่จากทหารม้ามัมลุค นักบวชอุลามา ตามแนวทาง คำสอนอฺอุมมะฮ จะไปบอกชาวบ้านว่าพวกเราเข้ามาอียิปต์ในฐานะที่ต้องการให้อียิปต์มีความเป็นเอกราช มีความเสมอภาคและภราดรภาพ เพื่อให้บรรดา อุลามาได้นำความคิดของผมไปบอกกับประชาชนอียิปต์”
***********************************
หลังจากการพบกันของอุลามากันนโปเลียนที่ มัสยิดอิบันตูลูน นโปเลียนได้ทำการแต่งตั้ง บรรดาอุลามาที่มีแนวคิดเดียวกัน ราฮิม เพื่อไปเผยแพร่ให้ประชาชนชาวอียิปต์เชื่อว่า นโปเลียนมาปลดปล่อยอียิปต์ ในระยะแรกๆ ประชาชนต่างยอมรับสถานการณ์ด้วยดี แต่ยิ่งนานวันประชาชนเริ่มรู้ว่าคำสั่งประจำวันเป็นเพียงเพื่อมิให้ก่อการจลาจลเท่านั้นเอง นโปเลียนได้จัดรูปแบบการเมือง การบริหาร การปกครองอียิปต์ใหม่ให้พัฒนาขึ้น โดยเริ่มทดลองที่อียิปต์เป็นแห่งแรก นโปเลียนได้ออกแบบกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ปกครองอียิปต์ กฎหมายรัฐธรรมนูญมี องค์กรสูงสุดเพียง 2 องค์กร มีองค์กรสำหรับตรากฎหมาย 1 องค์กร คือ องค์การบริหารสูงสุด
และองค์กรที่เป็น สภาสูงสุด ( Senat conservateur) มีสมาชิกจำนวน 80 คนเลือกมาจากอุลามา ที่มีแนวคิด อฺอุมมะฮ ดำรงตำแหน่งโดยไม่มีวาระ จำนวน 60 คน เลือกมาจากได้แก่ บุคคลที่คัดเลือกแต่งตั้งโดยบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในรัฐธรรมนูญ 4 คน หลังจากนั้นจะแต่งตั้งเพิ่มขึ้นปีละสองคนเป็นเวลา 10 ปีอีก 20 คน จาก “บัญชีรายชื่ออุลามาทั่วอียิปต์” สภาสูงสุด หรือสภาอิสลาม (Senat) มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ไม่ให้ มีการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ (inconstitutionnalite) และมีอำนาจเลือกสรรตัวบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรที่สำคัญ ๆตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
องค์กรบริหารสูงสุด ( du gouvernement) ได้แก่คณะผู้บริหาร เรียกว่า le consulat จำนวน 3 คนโดยระบุชื่อไว้ในรัฐธรรมนูญ มี นโปเลียนเป็น รายชื่อที่ 1เป็น premier Consul หัวหน้าฝ่ายบริหารคนที่หนึ่ง ดำรงตำแหน่ง 10 ปี มีอำนาจในการบริหาร คือ การประกาศใช้บังคับกฎหมาย การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ทหาร / พลเรือน และแต่งตั้งผู้พิพากษา ส่วนคนที่สอง ได้แก่พลเอกมีโน และ คนที่สามได้แก่ ยูซุป คนที่สองและคนที่สามมีหน้าที่เป็นเพียง “ที่ปรึกษา” และถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิบันทึกความเห็นของตนไว้เป็นหลักฐาน
การตรากฎหมาย อำนาจนิติบัญญัติ นโปเลียนเป็นผู้เสนอกฏหมายต่อ สภาสูงสุด หรือสภาอิสลาม (Senat) และมีอำนาจออกกฎในการดำเนินตามกฎหมาย เมื่อเวลาล่วงเลยไป ประชาชนเริ่มลุกขึ้นต่อสู้ กับการปกครองของนโปเลียน เพราะเป็นการปกครองอียิปต์ภายใต้ นโปเลียน เท่ากับกับตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
ชาวบ้านเริ่มมีการประท้วงและก่อการจลาจลมากขึ้น รัฐบาลออตโตมานได้เห็นสภาพความวุ่นวายในประเทศอียิปต์จึงได้เตรียมกองทัพโจมตีขับไล่ฝรั่งเศสในอียิปต์ประเทศอังกฤษมิได้ลังเลอีกต่อไปยื่นข้อเสนอจะให้ความช่วยเหลือออตโตมานขับไล่ฝรั่งเศสออกจากอียิปต์ การยื่นข้อเสนอของอังกฤษเพื่อตัดกำลังศัตรูที่ตนจะผ่านเข้าไปประเทศอินเดีย รัฐบาลออตโตมานรับข้อเสนอด้วยดี นอกจากนี้รัสเซียรีบส่งกองทัพเรือของตนเป็นพันธมิตรอีกประเทศหนึ่ง ประเทศอังกฤษ รัสเซีย และตุรกีจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส